การพัฒนาระบบไฟจราจรอัตโนมัติตามปริมาณยานพาหนะ ควบคุมด้วยพีแอลซี
Development of an automatic traffic light control system based on the number of vehicles from PLC control
Abstract
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบสมรรถนะของการพัฒนาระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติเพื่อลดปัญหาการแออัดของยานพาหนะบริเวณทางแยกควบคุมด้วยพีแอลซี มีโครงสร้างการทำงานควบคุมด้วยพีแอลซีด้วยการรับค่าอินพุตจากเซ็นเซอร์และเคาท์เตอร์ทำการประมวลผลด้วยโปรแกรม GX Work3 แล้วส่งค่าเอาท์พุตขับหลอดสัญญาณไฟจราจร การดำเนินการสร้างและทดสอบสมรรถนะเพื่อหาความเหมาะสมของระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ 25 ท่าน ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบการใช้งานจริง วิธีดำเนินการวิจัยหลังจากการสร้างเครื่องมือในงานวิจัย มีการประเมินความเหมาะสมของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ โดยการสาธิตการทำงานเป็นเวลา 90 นาที เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานจริงในระดับมาก ( = 4.55) นอกจากนี้ยังสามารถนำระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติมาใช้ในการเป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาโปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์และวิชาวิศวกรรมควบคุมได้ ส่วนข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญคือเป็นนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ดี และควรพัฒนาเพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการพาณิชย์ต่อไป
References
R. Pueboobpaphan. “A Research Report on Enhancing Traffic Signal Systems to Alert Communities at Irregularly Used Intersections on Major Highways,” Research Report of Suranaree University of Technology, 7-704-55-12-76.2014. (in Thai).
J. Sakorn, K. Ongwatthanaphong, and J. Deesamoh. “Education Resolving Traffic Problems in the Eastern PartUsing Media,”in Proceeding of RMUICON2025 9 RMUT: Driving Social Innovation Towards Sustainable Development, Bangkok, July.22-24,2017, pp226-232 (in Thai).
P. Lertworawanich, Feasibility Study in Designing and Installation of the Traffic Light System on Highways Dept. of Highways Ministry of Transport. 2010, pp. 31-40 (in Thai).
T. Wichaimethawee, “Development of Traffic Signal Control Strategies for Saturated Traffic Conditions” M.Eng. thesis, Dept. of Civil Eng., Chulalongkorn Univ., Bangkok,2002 (in Thai).
P. Kaewwichian, “A Study of Traffic Signal Control at Intersection: A Case Study of Khon Kaen Province,” M.Eng. thesis, Dept. of Electrical Eng., Khon Kaen Univ., Khon Kaen ,2006 (in Thai).
W. Phutdhawong, “The Development of an Industrial-Scale Glycoside Extraction Machine from Centella Asiatica Using Electrocoagulation,” M.Eng. thesis, Dept. of Electrical Eng., Kasetsart Univ., Bangkok, 2011 (in Thai).
P. Kaewwichian, “A Study of Traffic Signal Control at Intersection: A Case Study of Khon Kaen Province,” M.Eng. thesis, Dept. of Electrical Eng., Khon Kaen Univ., Khon Kaen,2011 (in Thai).
D. Garg, M. Chli, and G. Vogiatzis, School of Engineering and Applied Science, Aston Univ., Birmingham, U.K., 2022, pp. 214–218.
W. Wen, “A Dynamic and Automatic Traffic Light Control Expert System for Solving the Road Congestion Problem. Expert Systems with Applications,” Expert Systems with Applications, vol. 34, no. 4, pp. 2370–2381, May,2008.