กระบวนการสร้างคุณค่ายกระดับตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์สบู่น้ำผึ้ง กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงสบู่สมุนไพร อำเภอสอง จังหวัดแพร่

  • เรือนขวัญ หรุ่นเริงใจ หลักสูตรเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Keywords: กระบวนการสร้างคุณค่า, ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์, ชุมชนมีส่วนร่วม

Abstract

วัตถุประสงค์มีดังนี้ 1) เพื่อสร้างกระบวนการออกแบบตราสินค้าและ บรรจุภัณฑ์แบบชุมชน มีส่วนร่วม 2) เพื่อพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงสบู่สมุนไพร จ.แพร่ โดยชุมชน มีส่วนร่วม 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงสบู่สมุนไพร จ.แพร่ และกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ส่งเสริมการตลาด ผู้วิจัยได้สนทนากลุ่มและออกแบบโดยมีส่วนร่วมกับชุมชน พบว่าการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยใช้แนวคิด Participatory action research; PAR ทำให้ได้กระบวนการที่มาของข้อมูลเชิงลึก   ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์แบบชุมชนมีส่วนร่วมกับกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงสบู่สมุนไพร เพื่อนำข้อมูลออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 3 รูปแบบ เพื่อนำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญ และสอบถามชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า การออกแบบมุ่งเน้นให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของกลุ่ม โดยทางกลุ่มสรุปให้ใช้ คำว่า “ปาล์มทอง” และตกแต่งด้วยกราฟิกรูปใบปาล์มสีทองผสมผสานกับรูปผึ้ง ซึ่งมาจากเรื่องเล่าที่มาของพระธาตุนาคราชปาล์มทองและเป็นที่มาของวัตถุดิบหลัก ด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับยอดขายประมาณการต่อเดือน 20 ก้อน จะสามารถสร้างกำไรให้แก่สมาชิกในกลุ่มจำนวน 30 คน เฉลี่ยคนละ 43.21 บาทต่อเดือน เมื่อเทียบกับกำไรจากบรรจุภัณฑ์เดิมที่ได้รับคนละ 4.45 บาท จะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 11 เท่า เมื่อนำไปประเมินความพึงพอใจกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงสบู่สมุนไพร จ.แพร่ และกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 100 คน โดยใช้กรอบแนวคิดด้านการตลาด 4P พบว่าผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ (Product) มีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 4.41) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.53)

Published
2020-06-30