ชนิดของตัวประสานที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกยูคาลิปตัส

  • อนุสรา งามเลิศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • เขมนิจจารีย์ สาริพันธ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ประนิตดา เพ็งงิ้ว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
Keywords: ถ่านอัดแท่ง, ตัวประสาน, เปลือกยูคาลิปตัส

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาชนิดของตัวประสานที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกยูคาลิปตัส โดยใช้กากน้ำตาล ข้าวเหนียวกวน ดินเหนียว ผักตบชวาและแป้งเปียกเป็นตัวประสานในอัตราส่วนต่างๆ การขึ้นรูปถ่านอัดแท่งใช้วิธีการอัดเย็น โดยใช้เครื่องอัดแท่งแบบลูกสูบ และทดสอบคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งตามมาตรฐาน  American Society for Testing and Materials (ASTM) ผลการศึกษาพบว่าตัวประสานที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกยูคาลิปตัส คือ แป้งเปียกในอัตราส่วน 1.5:10 โดยน้ำหนัก ซึ่งมีความชื้น ปริมาณเถ้า ปริมาณสารระเหย ปริมาณคาร์บอนคงตัว 7.01, 5.30, 6.08 และ 81.58%  ตามลำดับ ค่าพลังงานความร้อน  4,833.6 cal/g  ซึ่งใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่กำหนด นอกจากนี้ยังมีค่าดัชนีการแตกร่วนอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการขนส่ง กล่าวคือค่าดัชนีการแตกร่วนเท่ากับ 0.58 ดังนั้นแป้งเปียกจึงเป็นตัวประสานเหมาะแก่การนำไปใช้งานการทำถ่านอัดแท่งจากเปลือกยูคาลิปตัส

Published
2019-12-26