การหาอัตราการล้มเหลวและพยากรณ์เวลาเสียหายของอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าย่อย 22 kV

  • ภุมรินทร์ ทวิชศรี สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Abstract

บทความนี้นำเสนอการหาอัตราการล้มเหลวรวมทั้งวิเคราะห์ความล้มเหลวและพยากรณ์เวลาความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้าย่อย22กิโลโวลต์ ซึ่งประกอบไปด้วยสถานีไฟฟ้าย่อย 3 สถานี การหาอัตราการล้มเหลวโดยเฉลี่ยในแต่ละสถานีย่อยใช้วิธีการแจกแจงแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลเพื่อหาระยะเวลาเฉลี่ยที่ระบบทำงานจนถึงปัจจุบันแล้วนำไปคำนวณหาอัตราการล้มเหลวที่เกิดขึ้น โดยสถานีย่อยที่ 1 สถานีย่อยที่ 2 และสถานีย่อยที่ 3 มีอัตราการล้มเหลว 0.3663 0.6945และ 0.2191ครั้งต่อปี ในด้านของการประเมินความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้าทั้ง 3 สถานีไฟฟ้าย่อยใช้วิธีการวิเคราะห์จากค่าดัชนี SAIFI เพื่อวัดค่าดัชนีที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟโดยค่าดัชนี SAIFI ของสถานีไฟฟ้าย่อยที่ 3 เท่ากับ 0.2843ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟน้อยที่สุด รองลงมาคือสถานีไฟฟ้าย่อยที่ 2 มีค่าดัชนี SAIFI เท่ากับ 0.5349และสถานีไฟฟ้าย่อยที่ 1 มีค่าดัชนี SAIFI เท่ากับ 0.6916ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟสูงที่สุดส่วนการพยากรณ์เพื่อหาเวลาการทำงานของอุปกรณ์ที่จะเสียในรอบถัดไปใช้วิธีการทดสอบทางสถิติด้วยโปรแกรม Minitab ซึ่งผลการพยากรณ์ระยะเวลาที่สถานีไฟฟ้าย่อยที่ 1 จะเกิดความเสียหายของอุปกรณ์ที่มีระยะเวลาทำงานอีก 14,349ชั่วโมงสถานีไฟฟ้าย่อยที่ 2จะเกิดความเสียหายของอุปกรณ์ที่มีระยะเวลาทำงานอีก 8,891ชั่วโมงและสถานีย่อยที่ 3 จะเกิดความเสียหายของอุปกรณ์ที่มีระยะเวลาทำงานอีก 18,670ชั่วโมง ตามลำดับ

Published
2018-12-27