การลดปริมาณของเสียในการผลิตชิ้นส่วนบานพับฝาท้ายรถกระบะกรณีศึกษาบริษัท นากาตะ (ไทยแลนด์) จํากัด

  • โอฬาร เส็งสาย ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • รณินทร์ กิจกล้า ภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตชิ้นส่วนตัวบานพับฝาท้ายรถกระบะ เพื่อการลดปริมาณข้อบกพร้องใน
กระบวนการผลิต จากการผลิตที่ผ่านมาข้อมูลการผลิตระหว่างเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน 2558 มีปริมาณการผลิตเฉลี่ย
21,129.75 ชิ้นต่อเดือน มีจํานวนของเสียเฉลี่ย 2,536 ชิ้นต่อเดือน คิดเป็นอัตราของเสียในการผลิตร้อยละ 12.00 ลักษณะ
และจากการจัดลําดับของปัญหาโดยแผนภูมิพาเรโตพบว่าปัญหาหัว Bolt ที่เชื่อมกับชิ้นงานแตกทะลุเกิดขึ้นมากถึงร้อยละ
71.99 ของของเสีย เมื่อทําการวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช7แผนภูมิก้างปลาพบว่าเกิดจากการปรับตั้งค่า Condition Welding
ของเครื่องเชื่อมไม่เหมาะสม จึงได้ปรับปรุงโดยทดลองการเชื่อมประกอบตัว Bolt เพื่อหาค่า Condition Welding ที่เหมาะสม
และหลังจากดําเนินการปรับปรุงเรียบร้อย มีผลทําให้การผลิตในระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 มี
ปริมาณการผลิตเฉลี่ย 21,167.00 ชิ้นต่อเดือน มีของเสียเฉลี่ย 446.5 ชิ้นต่อเดือน คิดเป็นของเสียร้อยละ 2.11 ทําให้บริษัท
สามารถลดของเสียจากร้อยละ 12.00 ก่อนการปรับปรุงเหลือร้อยละ 2.11

Published
2016-06-30