การพัฒนาและคุณลักษณะของเส้นใยอิเล็กโทรสปันจากพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตกับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์สำหรับประยุกต์ใช้เป็นวัสดุหน้ากากอนามัย
Abstract
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตกับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์หรือซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอลูมิเนียม โดยเตรียมด้วยกระบวนการอิเล็กโตรสปินนิงซึ่งงานวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางความร้อน สมบัติเชิงกล และสมบัติการยับยั้งแบคทีเรีย การเติมอนุภาคนาโนในเส้นใยพอลิเมอร์ผสมช่วยเพิ่มปริมาณผลึก จากการศึกษาสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดของเส้นใยพอลิเมอร์ผสมที่เติมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์หรือนาโนซิงค์ออกไซด์เจืออะลูมิเนียมที่อัตราส่วนร้อยละ 0.5 1.0 3.0 และ 5.0 โดยน้ำหนัก พบว่าเส้นใยหลังเติมอนุภาคนาโนมีลักษณะปราศจากข้อบกพร่องและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเติมอนุภาคนาโนในพอลิเมอร์ผสมพอลิแลคติกแอซิดกับพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (80:20) มีค่าเท่ากับ 3.43 ± 1.10 ไมโครเมตร และเส้นใยหลังเติมอนุภาคนาโนแสดงถึงความไม่ชอบน้ำ จากผลการทดสอบสมบัติทางความร้อนและสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมอนุภาคนาโนในปริมาณที่มากเกินไปมีแนวโน้มทำให้อุณหภูมิการสลายตัวทางความร้อนและสมบัติเชิงกลมีค่าลดลงและจากการทดสอบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococusaureus และ Escherichia coli ด้วยเทคนิค Disc diffusion พบว่าแผ่นของเส้นใยทุกอัตราส่วนผสมของการเติมอนุภาคนาโนสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ในบางส่วน ซึ่งมีความน่าสนใจในการนำมาพัฒนาเป็นหน้ากากอนามัยได้
คำสำคัญ: พอลิแลคติกแอซิด, พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต,อิเล็กโทรสปินนิง, ซิงค์ออกไซด์