การพัฒนาเครื่องตัดและกดอัดกึ่งอัตโนมัติเพื่อประยุกต์ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์วุ้นน้ำมะพร้าว

  • สกล นันทศรีวิวัฒน์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา คระเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Abstract

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องตัดและกดอัดวุ้นน้ำมะพร้าว สามารถควบคุมการ
ทํางานได้ โดยมีการประเมินความพึงพอใจ 4 ด้าน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพลักษณะการใช้งาน ลักษณะการบํารุงรักษา
และความเหมาะสมด้านการนําไปใช้งาน ผลการวิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 10 คน เป็นผู้ประเมินประกอบด้วย
ผู้มีประสบการณ์ด้านเครื่องกล จํานวน 4 คน ผู้มีประสบการณ์ด้านไฟฟ้า จํานวน 2 คน ผู้ประกอบการวุ้นน้ำมะพร้าว
จํานวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวุ้นน้ำมะพร้าว จํานวน 1 คน ประเมินความพึงพอใจของเครื่องตัดและกดอัดวุ้นน้ำมะพร้าว
ผลการประเมินเครื่องตัดวุ้นน้ำมะพร้าวมีดังนี้ ลักษณะทางกายภาพอยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.77 ลักษณะการใช้งาน อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ลักษณะการบํารุงรักษา
อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และความเหมาะสมด้านการนําไปใช้งาน อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึง
พอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ส่วนผลการประเมินเครื่องกดอัดวุ้นน้ำมะพร้าวมีดังนี้ ลักษณะทางกายภาพ
อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ลักษณะการใช้งาน อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจมากที่สุด
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ลักษณะการบํารุงรักษา อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และความ
เหมาะสมด้านการนําไปใช้งาน อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32

Published
2018-06-30