การพัฒนาเทียนก้อนสําหรับเป็นวัสดุในการฝึกแกะสลักผักผลไม้

  • เสาวลักษณ์ พูลมี ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดาวดี เหมทานนท์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรันยา คุณะดิลก ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทียนก้อนสําหรับใช้เป็นวัสดุในการฝึกแกะสลักผักผลไม้ เพื่อใช้ทดแทนวัสดุ
จากธรรมชาติ ลดการสิ้นเปลือง และลดปริมาณขยะ โดยมีวิธีการคือ ศึกษาจากงานวิจัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทําต้น
เทียนแกะสลัก ศึกษาวัสดุที่เกี่ยวข้องพบว่า ขี้ผึ้ง พาราฟิน และปิโตรเลียมเจลสามารถนํามาหลอมรวมกัน เกิดลักษณะของ
ก้อนเทียนที่มีความแน่นเนื้อที่สามารถนํามาใช้แกะสลักด้วยมีดแกะสลักได้ นํามาทดสอบด้วยเครื่องทดสอบความแน่นเนื้อ
ประเมินความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแตกต่างของ
ความแปรปรวน ANOVA
จากการวิจัยในครั้งนี้ได้พัฒนาสูตรเทียนก้อนจํานวน 15 สูตร ลักษณะปรากฏดังนี้ มีความอ่อนตัวสามารถเฉือน
หรือเกลาเนื้อวัสดุออกจากกันด้วยมีดแกะสลัก และมีความคงตัว เมื่อนําเทียนก้อนทั้ง 15 สูตร มาทดสอบความแน่นเนื้อ และ
วิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่า ไม่มีสูตรใดมีความแน่นเนื้อเหมือนกับผักผลไม้ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ แครอท ฟักทอง เผือก แตง
และมะละกอ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตามส่วนประกอบของเทียนก้อนทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ขี้ผึ้ง
พาราฟิน และปิโตรเลียมเจล สามารถนํามาพัฒนาเป็นเทียนก้อนเป็นวัสดุฝึกในการแกะสลักผักผลไม้ได้ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ
ให้การยอมรับในการนําไปใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทียนก้อนที่มีส่วนผสมของขี้ผึ้ง พาราฟิน และปิโตรเลียมเจลที่อัตราส่วน 25
– 50 - 25 ซึ่งเป็นเทียนก้อนสูตรที่ได้รับการยอมรับสูงที่สุด โดยเทียนก้อนสูตรดังกล่าว สามารถนํามาใช้แกะสลัก กลีบปลาย
แหลมแบบเซาะร่องและไม่เซาะร่อง แกะสลักกลีบปลายโค้งแบบเซาะร่องและไม่เซาะรAองได้ดี และสามารถใช้แกะสลัก
ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ ได้รับการประเมินความพึงพอใจโดยรวมที่ 4.15 อยู่ในระดับมาก

Published
2018-06-30