การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะเทคนิค SPWM และการป้อน ฮาร์มอนิกลําดับที่ 3 ในสัญญาณอ้างอิง สําหรับอินเวอร์เตอร์ 5 ระดับ ชนิดฟลายอิ้งคาปาซิเตอร์
Abstract
บทความนี้นําเสนอการเปรียบเทียบสมรรถนะของไซน์พีดับบลิวเอ็ม (SPWM) และการป้อนฮาร์มอนิกลําดับที่ 3 เข้า
ในสัญญาณอ้างอิง เทคนิคการพีดับบลิวเอ็มที่นํามาเปรียบเทียบ คือ แบบ IPD (In-Phase Disposition) POD
(PhaseOpposite Disposition) APOD (Alternative Phase Opposite Disposition) ทดสอบบนอินเตอร์ 5 ระดับ ชนิดฟลายอิ้ง
คาปาซิเตอร์ขณะจ่ายโหลด R-L ซึ่งการทดสอบจะดําเนินการจําลองและสร้างแบบจําลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลที่ได้
นํามาคํานวณและแสดงค่า THDv (Total harmonic distortion) ของแรงดันด้านออกระหว่างสายโดยเปรียบเทียบร่วมกับ
เทคนิค HIPWM (การป้อนฮาร์มอนิกลําดับที่ 3 เข้าในสัญญาณอ้างอิง) ซึ่งผลที่ได้จากเทคนิค HIPWM ให้ผลสมรรถนะด้าน
ออก THDv ดีกว่าเทคนิค SPWM เฉลี่ยลดลง 4.1%