ผลกระทบของกระบวนการทอรีแฟคชั่นต่อค่าพลังงานความร้อน ของเปลือกมะม่วงอัดแท่ง

  • กาหลง บัวนาค สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลยานยนต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สรรพสิทธิ์ ชลพันธ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลยานยนต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • นรินทร กุลนภาดล สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลยานยนต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ธนวัฒน ศรีรักษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

บทความนี้นําเสนอการเปลี่ยนเปลือกมะม่วงให้สามารถนําไปใช้เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถเก็บรักษาไว้ใช้งานได้โดยประหยัดพื้นที่และไม่เกิดการเน่าเสีย โดยนําเปลือกมะม่วงที่เหลือจากการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาทําเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งและทําการปรับปรุงคุณภาพของเชื้อเพลิงด้วยกระบวนการทอรีแฟคชั่น อุณหภูมิทอรีแฟคชั่นสําหรับการทดลองคือ 220, 250 และ 280 องศาเซลเซียส ระยะเวลากระบวนการทอรีแฟคชั่นในการทดลอง คือ 1, 1.5 และ 2ชั่วโมง จากการทดลองพบว่าผลกระทบของอุณหภูมิและเวลาของกระบวนการทอรีแฟคชั่นนั้นส่งผลต่อค่าความร้อนของเชื้อเพลิงเปลือกมะม่วงอัดแท่งในลักษณะแปรผันตรงกัน เมื่ออุณหภูมิและเวลาในกระบวนการทอรีแฟคชั่นเพิ่มขึ้นค่าพลังงานความร้อนของเชื้อเพลิง (HHV) ก็จะเพิ่มขึ้น และส่งผลกับค่าผลผลิตมวลในลักษณะแปรผกผันกัน คือ เมื่ออุณหภูมิและเวลาในกระบวนการทอรีแฟคชั่นเพิ่มขึ้นค่าผลผลิตมวลของเชื้อเพลิงเปลือกมะม่วงอัดแท่งจะลดลง อย่างไรก็ตามจากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิทอรีแฟคชั่นส่งผลกระทบต่อเชื้อเพลิงเปลือกมะม่วงอัดแท่งมากกว่าระยะเวลาทอรีแฟคชั่นและยังสามารถสรุปได้ว่าช่วงระยะเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสําหรับกระบวนการทอรีแฟคชั่นเชื้อเพลิงเปลือกมะม่วงอัดแท่งควรเป็น 1.5 ชั่วโมง ที่ 250 องศาเซลเซียส

Published
2017-12-27