การศึกษาเชิงทดลองพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความ เสียดทานของท่ออุ่นอากาศพลังแสงอาทิตย์โดยใช้ครีบวางเอียง แบบแยกตัว

  • โชติวุฒิ ประสพสุข สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • สมพล สกุลหลง กลุมวิจัยระบบพลังงาน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตรศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตศรีราชา

Abstract

บทความนี้นําเสนอผลการทดลองของพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความเสียดทานภายในเครื่องอุ่นอากาศพลังแสงอาทิตย์ด้วยการติดตั้งครีบวางเอียงแบบแยกตัวบนแผ่นดูดซับความร้อนภายใต้สภาวะการให้ฟลักซ์ความร้อนคงที่ อัตราการไหลแสดงในเทอมของเลขเรย์โนลด์ในช่วง 5400 ถึง 23,500 ซึ่งขึ้นอยู่กับเส้นผ่านศูนย์กลางไฮดรอลิคของท่อ ครีบเอียงแบบแยกตัวทํามุมปะทะ (a ) 45o มีสัดส่วนความสูงปีกต่อความสูงท่อ (b/H) เท่ากับ 0.3 และมีสัดส่วนระยะพิตช์ตามแนวการไหลต่อความสูงท่อ (P/H) 5 ค่า คือ 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 โดยทําการติดตั้งที่ผิวด้านบนของส่วนทดสอบซึ่งจําลองเป็นแผ่นดูดซับความร้อน (absorber plate) เพื่อสร้างการไหลหมุนควงตามแนวกระแสการไหล ผลการทดลองพบว่า การติดตั้งครีบเอียงแบบแยกตัวทํามุม 45oให้ค่าการถ่ายเทความร้อนและความเสียดทานมากกว่าท่อผิวเรียบที่ไม่มีครีบ การติดตั้งครีบที่มีค่าสัดส่วนระยะพิตช์ (P/H) สั้นหรือถี่ให้ค่าเลขนัสเซิลท์ (Nu) และตัวประกอบเสียดทาน (f) สูงกว่าการติดตั้งครีบที่มีค่าสัดส่วนระยะพิตช์มากหรือห่าง ค่าสมรรถนะเชิงความร้อนสูงสุดมีค่าเท่ากับ 1.43

Published
2017-12-27