การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ ตําบลนานกกก อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Abstract
โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อหาความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภค ผู้จําหน่าย และผู้ผลิต ที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ให้สอดคล้องกับศักยภาพของกลุ่มผู้ผลิต ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมายของกลุ่มผู้ผลิต ที่เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับการใช้งานตามแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน เป็นการขยายตลาด เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ตําบลนานกกก อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้ได้มากขึ้นไม่น้อยกว่า 25% จากการศึกษาความต้องการของ
ท้องตลาด พบว่า ผู้จําหน่ายและผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ 3 ประเภท คือ 1. ประเภทภาชนะใส่ของ 2. ประเภทของตกแต่งบ้าน 3. ประเภทเฟอร์นิเจอร์ เมื่อทราบความต้องการของผู้จําหน่ายและผู้บริโภคแล้ว จึงทําการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่แล้วนําไปสอบถามความคิดเห็นด้านรูปแบบของผู้บริโภค ผู้จําหน่าย และกลุ่มผู้ผลิต จากนั้นจึงนําแบบที่ได้จากการคัดเลือก มาทําการเขียนแบบการผลิต ทดลองทําต้นแบบ และนําความรู้ไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มผู้ผลิตตําบลนานกกก เมื่อได้ต้นแบบที่เหมาะสมจึงนําไปเก็บข้อมูลสอบถามความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภคและผู้จําหน่ายในด้าน รูปแบบของผลิตภัณฑ์, สีสันของผลิตภัณฑ์, ความสะดวกสบายในการใช้งาน, ขนาด/รูปร่าง/รูปทรง,ประโยชน์ใช้สอย, วัสดุที่ใช้ , ความปลอดภัยในการใช้งาน, และการเคลื่อนย้ายขนส่ง จากข้อมูลที่ได้เมื่อสรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในภาพรวมทั้งหมด พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับที่ ดีมาก ( X =4.38) ซึ่งในการออกแบบและพัฒนารูปแบบครั้งนี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ตําบลนานกกก อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น 75%