แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ผลการวัดการสังเคราะห์แสงของพืช ด้วยอุปกรณ์ทางแสงขนาดเล็ก

  • สรายุทธ์ พานเทียน สาขาวิชาฟสิกส คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการสร้างแบบจําลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคํานวณค่าความถี่ของพลังงานแสงที่พืชปลดปล่อยออกมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงเมื่อได้รับแสงสีน้ําเงินในสถานะสมนัยโดยใช้วงแหวนสั่นพ้องขนาดเล็กแบบผสมที่มีลักษณะเป็นโพรงทําจากสารอะลูมิเนียมเกลเลียมอาร์เซไนท์ (AlGaAs) ภายในบรรจุไอออนของธาตุยูโรเพียมในการตรวจวัด แบบจําลองสร้างจากหลักคิดทางควอนตัมซึ่งพิจารณาผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่กระทํากับไอออนของธาตุยูโรเพียมแบบขึ้นกับเวลาในสองสถานะ ผลการคํานวณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่เปรียบเทียบกับการทดลอง ได้แก่ 1. ความน่าจะเป็นในการพบอิเล็กตรอนใน
สถานะกระตุ้นเมื่ออุปกรณ์อยู่ในโหมดการสั่นพ้อง พบว่า มีการสั่นและค่าลดลงตามเวลา 2. ความถี่ของแสงที่ได้จากปลดปล่อยของพืชจากกระบวนสังเคราะห์แสง พบว่า อยู่ในช่วงเทราเฮิรตซ์ เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการตรวจวัดสเปคตรัมจะมีค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 33.47 และ 12.33 ตามลําดับ ทั้งนี้ ความถี่ที่ได้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตการส่งสัญญาณชีวิตสิ่งมีชีวิตแบบไร้สาย และระบบเซนเซอร์แบบต่างๆ

Published
2017-12-27