การออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้สัก กรณีศึกษา กลุ่มศิลปหัตถกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้บ้านปากดง

  • สิงหา ปรารมภ์ หลักสูตรเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้สัก สำหรับกลุ่มศิลปหัตถกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้บ้านปากดง
2) เพื่อศึกษาการรับแรงของข้อต่อไม้สัก และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคหลังการออกแบบ เป็นการ
ออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้สักที่เหลือจากกระบวนการผลิตของทางกลุ่มนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการวิเคราะห์ตาม
หลักการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงการจำลองเปรียบเทียบการรับน้ำหนักระหว่างการต่อชนแบบหางเหยี่ยวคู่เปิดปากชน
กับ การต่อเข้าเดือยปากชนสองด้าน แบบย่อเดือย ทราบว่า การต่อเดือยปากชนด้านเดียว (118,733.1 N/m2) มีการกระจาย
การรับแรงได้ดีกว่าการต่อชนแบบหางเหยี่ยว (268,849.5 N/m2) จากนั้นทำการศึกษาระดับของความพึงพอใจของกลุ่ม
ผู้บริโภคที่มีต่อกลุ่มตัวอย่าง ในรอบ 1 เดือน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ทั้งค่าร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และ ค่า one- samples Test กรณี
กลุ่มตัวอย่างเดียว ต้องการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมที่มีต่อผลงาน
การออกแบบเฟอร์นิเจอร์หลักการออกแบบอยู่ที่ระดับความพึงพอใจมาก ( X =3.66, S.D.=0.70) โดยที่รายการของวัสดุมี
ความเหมาะสมมากที่สุด ( X =3.83, S.D.=0.71) รองลงมาเป็นความเหมาะสมโครงสร้าง ( X =3.82, S.D. = 0.75) และน้อย
ที่สุดคือด้านขนาด สัดส่วน มีความสะดวกสบายในการใช้ ( X =3.54, S.D. = 0.70) ตามลำดับ

Published
2017-06-28