การศึกษาแนวทางการสร้างลวดลายผ้าตีนจกชาวไทยพวน แบบประยุกต์ด้วยเทคนิคการทอด๊อบบี้ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

  • เรือนขวัญ หรุ่นเริงใจ หลักสูตรเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าตีนจกชาวไทยพวนแบบประยุกต์ การดำเนินการวิจัยเริ่มจาก
การสัมภาษณ์และการศึกษาลายผ้าตีนจกชาวไทยพวน ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ผลการศึกษาพบว่ามี
ความต้องการพัฒนาลายผ้าให้มีความโดดเด่นและมีสีสันที่แตกต่างจากเดิม เนื่องจากปัจจุบันขาดการพัฒนาลวดลายผ้าตีนจก
ให้เหมาะสมกับการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ และลวดลายเดิมของผ้าตีนจกมีความประณีตด้วยกรรมวิธีการ
จกต่อเนื่องกันทั้งผืน เมื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จึงแปรรูปได้ในรูปแบบที่จำกัด เนื่องจากเมื่อนำผ้าตีนจกมาตัดเป็นชิ้นส่วน
ต่างๆ จะเป็นการลดมูลค่าและคุณค่าของผ้าตีนจก ผู้วิจัยจึงออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าตีนจก โดยมีแนวคิดให้ลวดลายมี
ความทันสมัยและยังคงมีกลิ่นอายของความเป็นผ้าตีนจกของชาวไทยพวน แบ3งออกเป็น 3 แนวคิด ได้แก่ 1. Rudimentary
Refinement 2. Gently Irreverent 3. Experimental Romanticism โดยใช4เทคนิคการทอดอบบี้ในการออกแบบลาย
ผ้าตั้งแต่ 8 – 16 ตะกอ จากการสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนาลวดลายตามหลักการ
ออกแบบ พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความความคิดเห็นด้านการผสมผสานแบบลายผ้าที่สัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบแนวคิดที่ 2
มากที่สุด ค3าความเฉลี่ย (x = 4.67) ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการและวิถีการทอผ้าของชาวไทยพวน ที่สามารถพัฒนาทักษะ
การทอเพื่อให้ได้ลวดลายที่มีความแปลกใหม่ และสอดคล้องกับการนำผ้าทอไปใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ
ได้โดยไม่เป็นการลดคุณค่าและมูลค่าของผ้าตีนจก

Published
2017-06-28