การพัฒนากรวดในงานภูมิทัศน์จากผักตบชวา

  • บุญญาพร บุญศรี สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Keywords: กรวด, ผักตบชวา, ระบบกรองบ่อน้ำ, ภูมิทัศน์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรวดในงานภูมิทัศน์จากผักตบชวา โดยการนำผักตบชวามาตากแห้ง  จากนั้นนำบดย่อย 2 แบบคือ ผงผักตบชวาแบบละเอียดมีขนาดไม่เกิน 5 มิลลิเมตร และผงผักตบชวาแบบหยาบที่มีกากใยความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วนำผงจากผักตบชวาไปผสมกับแป้งมันสำปะหลัง และ โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วนผสม ผงผักตบชวาหยาบ (กรัม) : ผงผักตบชวาละเอียด (กรัม) : แป้งมันสำปะลัง (กรัม) : โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (กรัม) ทั้งหมด  6 สูตร ได้แก่ 50:50:0:0, 50:40:10:0, 40:10:50:0, 40:10:20:30, 40:10:30:20 และ 40:10:0:50 จากนั้นนำไปอัดขึ้นรูปเป็นกรวดขนาด เบอร์ 4 โดยใช้เครื่องอัดก้อนกรวด และได้นำกรวดจากผักตบชวาจากทั้ง 6 สูตร ไปทำการทดสอบคุณสมบัติค่าดูดซึมน้ำ พบว่าสูตร 6 มีค่าดูดซึมน้ำที่ร้อยละ  37.44 และยังคงลักษณะความเป็นกรวดได้เหมือนเดิม จึงนำมาทดสอบประสิทธิภาพของการเป็นวัสดุกลางในระบบกรองน้ำของบ่อน้ำในงานภูมิทัศน์ ผู้วิจัยได้นำวัสดุกลางที่นิยมในระบบบ่อกรองมาเปรียบเทียบ 4 ชนิด ได้แก่ ไบโอบอล หินภูเขาไฟ  เปลือกหอยนางรม และกรวดในงานภูมิทัศน์จากผักตบชวา มีการทดสอบ ค่าความเป็นกรด-ด่าง  ค่าแอมโมเนียม ค่าไนเตรท และค่าไนไตรท์ ของน้ำที่ผ่านวัสดุกรอง จากผลการวิจัยพบว่า กรวดในงานภูมิทัศน์จากผักตบชวา สูตรที่ 6 มีค่าความเป็นกรด-ด่าง 8.97  ค่าแอมโมเนียม 0.27 mg/l  ค่าไนเตรท์ 1.13 mg/l ค่าไนไตรท 12.12 mg/l อยู่ในเกณฑ์ค่าที่เพียงพอที่ใช้ในบ่อน้ำในงานภูมิทัศน์

References

Water hyacinth management guide. [Online]. (2021). [Cited December 19, 2022]. Available: http://lib.mnre.go.th/book/paktob.pdf

L. Holm, Weed problems in developing countries, Weed Science, England: Cambridge University Press ,1969), pp. 113-118

N Buntharika, Landscape Business 93470. Bangkok : Sukhothai Thammathirat University publishing ,2023 pp.176-186

C. Attiya, Kanyarat C. and T Promma, “Study the Properties of Containers Made from Mission Grass Fibers (Pennisetum polystachion (L.) Schult.) and Water Hyacinth Fibers (Eichhornia crassipes (Mart.) Solms)” in Proceeding of The 2nd Kamphaengphet Rajabhat University ,Kamphaengphet, March 25,2022,pp. 728-736

N. Tangmankongworakoon.(2014,January-June) The Production Of Fuel Briquettes From Bio-Agricultural Wastes And Household Wastes. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology. [Online].6(11), pp. 66-77. Available: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/4488/4409

P. Trin , Bio-container production from water hyacinth/2013. [Online].(2013).[Cited September 22, 2023] Available: https://publication.npru .ac.th/bitstream/123456789/1625/1/npru-45.pdf

T. Cheunbarn. (2015, July-December). Water quality improvement in tilapia pond by Taro (Colocasia esculenta) and Phormidium sp. in a pilot-scale constructed wetland. Journal of Fisheries Technology Research .[Online]. 9(2), pp. 62-70. Available:http://www.fishtech.mju.ac . th/fishnew1/Journal_FT_Attach/AbstractFile/P62-70-V9-Y2558.pdf

Tucker, C. S., and Hargreaves, J. A, Biology and Culture of Channel Catfish. New York : Elsevier, 2004.

T. Munsin and P. Paipan ,” Water quality management and wastewater treatment in fish ponds and other aquatic animals”.2011.Bangkok Chulalongkorn University Printing House (inThai)

Koydon S.,” Nitrogen elimination in zero waste aquaculture system,” Rmutsb Academic Journal ,Vol 2,no. 1,pp.66-80 ,2014 (in Thai)

Published
2024-12-03