การลดอัตราส่วนของเสียในกระบวนการผลิตลูกชิ้นสำหรับวิสาหกิจขนาดย่อม
Abstract
ร้านกรณีศึกษาเป็นวิสาหกิจขนาดย่อมที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายลูกชิ้น จากการศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการเก็บข้อมูลของเสียด้วยเครื่องมือคุณภาพ พบว่าร้านกรณีศึกษามีอัตราส่วนของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตก่อนปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 3.92 ซึ่งส่งผลให้เกิดต้นทุนผลิตสูงขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราส่วนของเสียในกระบวนการผลิตลูกชิ้น โดยเริ่มจากการคัดเลือกหัวข้อปัญหาที่มีความสำคัญด้วยหลักการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ และหลักการของพาเรโต ซึ่งได้คัดเลือกปัญหาจากลักษณะของเสีย 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) ลูกชิ้นไม่กลม และ 2) ลูกชิ้นติดกัน จากนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียโดยการประยุกต์ใช้แผนผังก้างปลาและระดมสมองกับร้านกรณีศึกษา พบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดของเสีย คือ 1) การปรุงส่วนผสมผิด และ 2) การไม่มีระบบกระจายลูกชิ้นซึ่งทำให้ลูกชิ้นติดกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตลูกชิ้น โดยการทำมาตรฐานการปรุง การตวง และจัดหาอุปกรณ์การตวง และจัดทำระบบน้ำวนเพื่อให้ลูกชิ้นกระจายตัว โดยผลหลังดำเนินการปรับปรุง พบว่าอัตราส่วนของเสียในการผลิตลูกชิ้นลดลงร้อยละ 2.14 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.59 เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของเสียของลูกชิ้นก่อนการปรับปรุง
References
Department of Trade Negotiations, Summary of Thai products with export potential under FTA in January 2024, Nontaburi, Department of Trade Negotiations, 2024 (in Thai).
Krungsri Research, Trends in the Food and Beverage Industry 2024-26 (Ready-to-Eat Industry), Bangkok, Krungsri Research, 2024 (in Thai).
M. H. A. Soliman, The Seven Deadly Wastes and How to Remove Them from Your Business: The Heart of the Toyota Production System (2rd ed.). Boston, Personal-lean.org, 2020.
N. Maneechot and P. Pijitbanjong, “Defect Reduction in Standard Thai Rubber Production Process,” Thai Industrial Engineering Network Journal, vol. 5, no. 1, pp. 66–74, Jun. 2019 (in Thai).
T. Ratanawilai, S. Baraheng, and S. Jirasatitsin, “Reduction of Defect Rate in Bar Soap Manufacturing Process,” RMUTP Research Journal, vol. 17, no. 1, pp. 52–66, Jun. 2023 (in Thai).
A. Amaluk, “Defect Reduction in Machine Parts Production Processes : A Case Study of Supreme Precision Manufacturing Co.,Ltd.,” Thai Industrial Engineering Network Journal, vol. 5, no. 1, pp. 36–48, Jun. 2019 (in Thai).
K. Athikulrat, S. Jangruxsakul, and J. Plychumpol, “Application of Failure Mode and Effects Analysis to Reduce Wastes Power Pole Production Process,” Engineering and Technology Horizons, vol. 38, no. 3, pp. 63–76, Sep. 2021 (in Thai).
T. Khemasit and R. Kijkla, “Reduce Waste from the Manufacture of Sausage with the Application DMAIC Case Study: Food industry,” Journal of Industrial Technology, vol. 11, no. 2, pp. 77-83, Dec. 2016 (in Thai).
N. Watcharachotpimai and R. Chompu-inwai, “Waste Reduction in Frozen Vagetable Production Using Six Sigma Technique,” Engineering Journal Chiang Mai University, vol. 19, no. 2, pp. 23-33, Dec. 2012 (in Thai).
C. Phimpha, B. P. Ponatong and S. Nannar, “Waste reduction in khao tu production process of agriproduct processing groups,” Industrial Technology Journal, vol. 7, no. 2, pp. 113-122, Dec. 2023 (in Thai).
S. Saewong, “Reduction of defect rate in a shrimp feed process,” M.S. Thesis, Department of Industrial Management Engineering, Prince of Songkla University, Songkhla, 2010 (in Thai).
K. Ploypanichcharoen, Failure mode and effect analysis, Bangkok: TPA Publishing, 2007 (in Thai).