การพัฒนาถ่านอัดแท่งที่เหมาะสมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประเภทเปลือกเมล็ดกระบก

  • แม้นวาด รชนีกรไกรลาศ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • เอกราช นาคนวล สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุรสิงห์ อารยางกูร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Keywords: ถ่านอัดแท่ง, เปลือกเมล็ดกระบก, ค่าความร้อน, ปริมาณเถ้า

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งเปลือกเมล็ดกระบก โดยการนำเปลือกเมล็ดกระบกมาเผาในเตาเผาถ่านให้กลายเป็นถ่าน จากนั้นนำถ่านเปลือกเมล็ดกระบกมาบดย่อย ผงถ่านมีขนาดไม่เกิน 5 มิลลิเมตร แล้วนำผงถ่านไปผสมกับแป้งมันสำปะหลังและน้ำ ในอัตราส่วน ผงถ่าน (กิโลกรัม) : แป้งมันสำปะหลัง (กิโลกรัม)  : น้ำ (ลิตร) ทั้งหมด 5 สูตร ได้แก่ 3 : 0.18 : 1.20, 3 : 0.24 : 1.20, 3 : 0.30 : 1.20, 3 : 0.36 : 1.20 และ 3 : 0.42 : 1.20  จากนั้นนำไปอัดให้เป็นแท่งโดยใช้เครื่องอัดถ่านแบบเกลียว เมื่อได้ถ่านอัดแท่งออกมาแล้วผู้วิจัยได้นำถ่านอัดแท่งจากทั้ง 5 สูตร ไปทำการทดสอบคุณสมบัติของถ่านอัดแท่งเปลือกเมล็ดกระบก ได้แก่ การทดสอบค่าความร้อน การทดสอบปริมาณความชื้น การทดสอบปริมาณเถ้าและการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของความร้อน จากผลการวิจัยพบว่า สูตรถ่านอัดแท่งเปลือกเมล็ดกระบกที่มีคุณสมบัติดีที่สุด คือ สูตรที่มีอัตราส่วน 3 : 0.18 : 1.20 ซึ่งมีค่าความร้อน 21,848 จูลต่อกรัม (5,218.31 แคลอรี่ต่อกรัม) ค่าความชื้นเท่ากับ 5.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าปริมาณเถ้าเท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์ และประสิทธิภาพการใช้งานจุดติดไฟได้เร็ว เวลาที่ใช้ในการเผาไหม้จนเป็นเถ้าใช้เวลา 490 นาที

References

Green Network. Opportunities and Challenges Electricity production from biomass energy in Thailand. [Online]. (2018). [Cited September 19, 2023].Available:https://www.greennetworkthailand.com/bionic-power-in-thailand/ (in Thai).

R. Phutteesakul, “The Production of Charcoal Briquette by Coconut Shell and Cassava Rhizome,” M.S. thesis, Abbrev, Department of Education Degree in Industrial Education at Srinakharinwirot University, 2010 (in Thai).

S. Kerdwan, R. Jeendoung, and S. Getpun, The Production of Charcoal Briquette from Sago Tree Shell. Rajamangala University of Technology Srivijaya, 2018, pp. 32 (in Thai).

C.Saema and K.Thongboonrith, “The Study on Efficacy Charcoal from Corncob and Charcoal from Cassava Rhizome,” in Proceeding of The 3rd Kamphaeng Phet Rajabhat University Nation Conference, December. 22, 2016, pp.

-613 (in Thai).

R. Anantanukulwong, R. Chemae and N. Sareanu, “Production of Charcoal from Agricultural Residues,” YRU Journal of Science and Technology, vol. 4, no. 1, pp. 47-53, January-June 2019 (in Thai).

P. Auntaisong and R. Maneechot, “The Constructure and Efficiency Evaluate of Charcoal Briquette Machine from Cassia Pods,” Udon Thani Rajabhat University Journal of Sciences and Technology, vol. 7, no. 2, pp. 147-157, July-December 2019 (in Thai).

K. Wirunphan, T. Saiplean and P. Jaichompoo, “Production of Compressed Charcoal Fuel from the Waste Materials Collected after Processing Khao-Larm,” RMUTL Engineering Journal, vol. 2, no. 1, pp. 1-15, January-June 2017 (in Thai).

Thai Industrial Standards Institute Ministry of Industry. Community product standards No.238/ 2004. [Online]. (2004). [Cited July 8, 2022].Available: https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps

_47.pdf. (in Thai).

S. Janbuala, W. Ratanathavorn, M. Lembua and W. Netharn, The Development of Fuel Briquette from Agricultural Residus for Pottery Industry. Suan Dusit University, 2018, pp. 17 (in Thai).

Published
2023-12-20