การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดนางแล ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดและสมุนไพรซางคำ

  • สิปราง เจริญผล สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เมกุมิ คิคุจิ สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Keywords: ตราสัญลักษณ์, บรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์แปรรูป, สับปะรดนางแล

Abstract

สืบเนื่องจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ของเกษตรกรที่ผลิตพืชผลทางการเกษตร รวมไปถึงสับปะรดซึ่งปลูกเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด กระทบต่อรายได้ของเกษตรกร การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร โดยการนำมาแปรรูปเป็นอาหาร ซึ่งปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดและสมุนไพรซางคำ ได้มีการแปรรูปสับปะรดและสมุนไพรจำหน่ายในพื้นที่ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่กลุ่มใช้อยู่ยังไม่มีความแข็งแรงพอต่อการจัดส่งสินค้าในระยะไกล และไม่สะดวกต่อการจัดเก็บ ผลิตภัณฑ์แปรรูปบางชนิดยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ยังไม่มีเอกลักษณ์ที่ดึงดูดผู้บริโภค ผู้วิจัยจึงเสนอให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดและสมุนไพรซางคำ พัฒนาตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่   เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ในการดึงดูดผู้บริโภค

จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ภายในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรด แบบสอบถามความต้องของผู้ประกอบการและผู้บริโภคเกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาข้อสรุปเกี่ยวกับการนำเอกลักษณ์ของชุมชนมาเป็นแนวคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรด ผู้วิจัยใช้สับปะรดมาเป็นแนวคิดในการออกแบบ โดยคลี่คลายรูปร่างและรูปทรงจากผลสับปะรด เพื่อใช้เป็นรูปลักษณะของบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการใช้สีของสับปะรดมาออกแบบเป็นลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ใช้สับปะรดและต้นไผ่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อถึงชุมชนนางแล ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดและสมุนไพรซางคำต้องการให้ผู้วิจัยช่วยพัฒนา คือ บรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบสับปะรด บรรจุภัณฑ์สับปะรดผสมขิงกวน และบรรจุภัณฑ์ขิงผง

References

T. Fung- Fuang, C. Khansaen, N. Hengtakool, S. Ruangsiri, “Branding Building of Nang Lae Pineapple Processed that Influence the Purchasing Decisions of Tourists Visiting Chiang Rai Province”, CRRU Journal of Communication Chiang Rai Rajabaht University, vol 5, no. 1, January - June 2022, page 29-56.

S. Chanloy, S. Preechanon, “The Package Design and Development for Pineapple and Processed Product of Pineapple of Ratchburi”, The 6th National Academic Conference, Chombueng Research Rajabath Village, March 1, 2018, pp. 310 – 323.

Weigel, R.H., Newman, L.S., 1976. Increasing attitude–behavior correspondence bybroadening the scope of the behavioral measure. Journal of Personality and Social Psychology 33, pp. 793–802.

M. Paklamgeak, Food Packaging (1). Bangkok : Heng Heng Printing Company, 2015.

P. Kongcharoen, and S. Kongcharoen, Food Packaging (1). Bangkok : Heng Heng Printing Company, 1998.

T. Puipanthawong, Creative design concept framework. Bangkok : National Science and Technology Agency. 2011.

K. Talkul ec al, 2020. The Research of the Design and Development of one Tumbon One Product Packaging case study of the Doneless Snake skin gourami packaging, Mueang district Suphanburi province, Journal of Humanities and Social Sciences Southeast Asia University, vol 3, no.1, page 77 - 88. Jan - Jun 2022

P. Narongwit et al. Development of Rice Badges and Packaging by Ban Thung Han Tra, Kamphaeng Phet, The 5th National Academic Conference, Research and Development Institute, Kamphaeng Phet Rajabath University, December 21, 2019, pp. 837 – 848.

Published
2023-12-20