การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย

  • ไพโรจน์ เนียมนาค สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาวิศวกรรม ความปลอดภัยและวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิศวกรรม ความปลอดภัยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชรปีการศึกษา 2559 จํานวน 60 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสํารวจความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบสํารวจความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA การดําเนินการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 3 ระยะได้แก่ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยนําแนวคิดทฤษฎี Constructivism เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ระยะที่ 2 ทดลองใช2รูปแบบที่พัฒนากับกลุ่มทดลองโดยใช้วิธีสอนแบบบรรยาย กับกลุ่มควบคุม และระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาโดยการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนของกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมโดยทดสอบค่า t-test วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองกับค่าเฉลี่ย ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองกับกับค่าเฉลี่ยความ พึงพอใจของผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยที่ พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 4 ประการได้แก่ 1.1 หลักการของรูปแบบ 1.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 1.3 กระบวนการจัดการ เรียนการสอนซึ่งประกอบด้วย 8 ขั้นตอนคือ 1) การเตรียมผู้เรียน 2) การเผชิญปัญหา 3) การวิเคราะห์ปัญหา 4) การวางแผน งาน 5) การสืบค้น 6) การสังเคราะห์ 7) การสรุป 8) การประเมินการเรียนรู้และ 1.4 การประเมินผล 2.ประสิทธิภาพของ รูปแบบแสดงด้วยการทดสอบค่า t-test ของคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์และทดสอบทางสถิติโดยใช้ One-way ANOVA ระหว่าง 2.1 คะแนนหลังเรียนกับค่าเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองรายด้านพบว่ามีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกและ 2.2 คะแนน หลังเรียนกับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจรายด้านพบว่ามีค่าสหสัมพันธ์ทางบวก

Published
2016-12-29