การพัฒนาเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนจากพลังงานทดแทนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

  • กฤษณ์ชาคริตส ณ วัฒนประเสริฐ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • กุสุมา ผลาพรม สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อภิสิทธิ์ อุปกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • มณฑาทิพย์ สายยศ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ธรรณภรณ์ คงตัน สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พัฒนพงษ์ สุหญ้านาง สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พรชัย ตามถิ่นไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อภิชาติ มาศมาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Keywords: เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน, พลังงานทดแทน, พลังงานแสงอาทิตย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการพัฒนาเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนจากพลังงานทดแทนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ : 1) ออกแบบและพัฒนาเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนจากพลังงานทดแทนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2) เพิ่มประสิทธิภาพระยะเวลาในการใช้งานของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และ 3) เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายการใช้กระแสไฟฟ้าของโรงเลี้ยงสัตว์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคในการวิจัยเชิงทดลอง มีผลการวิจัยพบว่า การทดลองเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนจากพลังงานทดแทนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ได้มีการพัฒนาทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านระยะเวลาในการทำงาน การใช้งานเฉลี่ยนานขึ้นจากเครื่องเดิมมีระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ย 5 ชั่วโมง 16 นาที และเมื่อมีการพัฒนาแล้ว มีระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง 18 นาที 2) ด้านระยะเวลาการละลายของน้ำแข็ง มีระยะเวลาการละลายของน้ำแข็งเฉลี่ยนานขึ้นกว่าเดิมก่อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวทั้งหมด 3) ด้านอุณหภูมิ มีอุณหภูมิลดลงเนื่องจากเดิมเป็นพัดลมโบลเวอร์ ส่งผลให้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมีอุณหภูมิที่สูงกว่าการใช้พัดลมระบายอากาศขนาด 12 โวลต์ (V) 4) ด้านน้ำหนัก จากเครื่องเดิมใช้พัดลมโบลเวอร์ซึ่งมีน้ำหนัก 7 กิโลกรัม และเมื่อได้มีการพัฒนาโดยเปลี่ยนเป็นพัดลมระบายอากาศขนาด 12 โวลต์ (V) ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 400 กรัม ส่งผลให้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมีน้ำหนักที่เบาลง 5) ด้านความปลอดภัย ได้รับความปลอดภัยมากขึ้นเพราะจากมีการหุ้มสายไฟและจัดเก็บเป็นระเบียบทั้งพลังงานที่ใช้เป้นเพียงพลังงาน 12 โวลต์ (V) ซึ่งไม่มีแรงดันไฟฟ้ามากพอที่จะอันตรายต่อผิวหนัง 6) ด้านเสียงรบกวน ได้มีการเปลี่ยนจากพัดลมโบลเวอร์ที่มีมอเตอร์ขนาดใหญ่เป็นพัดลมระบายอากาศ ขนาด 12 โวลต์ (V) ที่มีมอเตอร์ขนาดเล็กทำให้ลดปัญหาเสียงมอเตอร์สั่น

References

K. Arthit and R.Kornpapop. (2021, October 1) Development of air conditioners using co-energy from solar cells. [online]. Available: https://tdcthailis.or.th

T. Yongyoot. “Development of Suitable Heat Ecchangers for Efficiency Enhancement of Dryer for Agicultural Product” M.Eng. dissertation, College of Renewable energy, Mae Jo University, 2021 (in Thai).

K. Jatuporn. “The Design of Control Structure of Heat Exchanger Network” M.Eng. dissertation, Faculty of Engineer, Chulalongkorn University, (2001) (in Thai).

X. Lianzheng, M. Guoyuan, Z. Feng and W Lei. (2021, October 10). Operation characteristics of air–air heat pipe inserted plate heat exchanger for heat recovery. [online]. Available: https://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/acsenergylett.7b00980#

T. Wiwat, Industrial heat exchanger. Bangkok: Faculty of Engineer, Chulalongkorn University, Publisher, 2007 p.11 (in Thai).

S.H. Noie-Baghban and G.R. Majideian. (2021, October 10). Waste Heat Recovery using heat pipe Heat Exchanger (HPHE) for surgery rooms in hospitals. [online]. Available: https://www.researchgate.net/publication/223481375

S. Anusorn, “The Study on Heat Transfer byInduction of Cylindrical Fins” M.Eng. dissertation, Faculty of Engineer, Srinakharinwirot University, 2007 (in Thai).

M.S. Soylemez. (2021, October 10). On the optimum heat exchanger sizing for heat recovery. [online]. Available: https://www.researchgate.net/publication/245159456

T. Chatchan, Refirgeration and air conditioning. Pathunthani: Skybook, 2015, p. 7 (in Thai).

S. Somsak, Refirgeration and air conditioning. Bangkok: SE-ED Publisher, 2016, p. 43 (in Thai).

Sciene Center for Education Khonkaen, (2021, October 17). Definition of renewable energy. [online]. Available: http://kksci.com/elreaning/prarang_t/e- tan.htm

P. Phasawat, (2021, October 1). Definition of renewable energy. [online]. Available: https://sites.google.com/site/possawatt/phlangngan-cak-khya

Department of Alternative Energy Development and Efficiency, (2021, November 4). Power generation from solar energy. [online]. Available:https://webkc.dede.go.th/testmax/kb01-list

P. Monvika. Cost Accounting. Bangkok: Physics Center, 2013 (in Thai).

M. Soraya. Production Cost. Bangkok: Srinakharinwirot University Publisher, 2014 (in Thai).

A. Benjamart. Introduction Cost Accounting. Bangkok: SE-ED Publisher, 2013 (in Thai).

Published
2023-06-30