ประเมินค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้านการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตหินปูน กรณีศึกษา: เหมืองแร่หินปูน เพื่ออุตสาหกรรมเคมี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

  • ประกอบ ปะระมะ สาขาการจัดการพลังงานและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุรัตน์ เศษโพธิ์ สาขาการจัดการพลังงานและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พุทธดี อุบลศุข สาขาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Keywords: สินทรัพย์ทางสังคม, ด้านผลผลิตปฐมภูมิ, การประเมินสินทรัพย์ด้านสังคม, การผลิตหินปูน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้านการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตหินปูนสำหรับใช้ในกระบวนการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้านการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ในกลุ่มของสินทรัพย์ทางสังคม (Social asset) สามารถประเมินค่าเสียโอกาสจากการใช้ทรัพยากร (User cost, Marginal user cost; MUC) คิดเป็น 0.867 บาทต่อตัน  เมื่อคำนวณค่าเสียโอกาสหากมีการทำเหมืองหินปูนจนถึงปี พ.ศ.2593 จะมีค่าประมาณ 0.1 พันล้านบาท โดยมูลค่าของหินปูนหากคำนวณเป็นระยะเวลา 90 ปี มีค่าประมาณ 8 พันล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเสียโอกาส พบว่ามีมูลค่าไม่มาก ดังนั้นการทำเหมืองหินปูนของโรงไฟฟ้าแม่เมาะจึงมีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้านการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติในกลุ่มผลผลิตปฐมภูมิ (Primary productivity) ที่สูญเสียไปจากการนำทรัพยากรมาใช้ ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างผลผลิตปฐมภูมิในกรณีที่ไม่มีการขุดเจาะทรัพยากรมาใช้กับผลผลิตปฐมภูมิหลังจากการขุดเจาะคิดเป็น 0.633 ตันต่อตัน  หากดำเนินการขุดแร่หินปูนจนกระทั่งเหมืองปิด       (พ.ศ. 2593) จะก่อให้เกิดความเสียหายผลผลิตปฐมภูมิคิดเป็น 44 ล้านตัน/ตัน เนื่องจากพื้นที่ทำเหมืองปัจจุบันเป็นพื้นที่ป่าเบญพรรณที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ ประกอบด้วยต้นไม้ได้แก่ สัก ประดู่ อ้อยช้าง ยมหิน ปอหยาบ ฯลฯ ทำให้ค่าความเสียหายไม่สูงมากนัก

References

Energy Policy and Planning office (EPPO). Energy Statistic of Thailand 2019. Ministry of Energy [Online]. (2019). [Cited December 20, 2020]. Available: https://www.eppo.go.th/index.php/en/en-energystatistics/value-energy-statistic

Electricity Generating Authority of Thailand. Proportion of using fuel to produce electricity in the system of EGAT 2021 [Online]. (2021). [Cited February 14, 2022]. Available: https://www.egat.co.th/home/en/wp-content/uploads/2022/07/EGAT_SR2021_EN-20220718.pdf

Department of Primary Industries and Mines. Mineral Statistics of Thailand 2014–2018 [Online]. [Cited August 15, 2021]. Available: http://www1.dpim.go.th/dt/pper/000001567147 580.pdf.

S.Kittipongvises, C. Polprasert, GHGs Emissions and Sustainable Solid Waste Management. In: O.P. Karthikeyan, K. Heimann, S. Muthu, (eds) Recycling of Solid Waste for Biofuels and Bio-chemicals. Environmental Footprints and Eco-design of Products and Processes. Springer, Singapore. 2016, pp 55-85.

S. Niyomthai, and A. Wattanawan, “Sustainable Mining in Thailand: Paradigm Shift in Environmental Management,” Applied Environmental Research, vol. 36, no. 1, pp.55-63, Feb. 2014.

C. Rewlay-ngoen, S. Papong, P. Piumsomboon, P. Malakul. and S. Sampattagul, “Life Cycle Impact Modeling of Global Warming on Net Primary Production: A Case Study of Biodiesel in Thailand” Environment and Resources Journal, vol 11, No.1, June 2013:21-30.

C. Rewlay-ngoen, “Development of downstream environmental impact assessment methods based on the LIME approach: Case Study of Personal Electric Vehicle,” Research, Development and Engineering Report, Department of Cluster Management and Research Program in Research Management, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA)., 2019, pp.36 (in Thai).

Department of Primary Industries and Mines. Situation of Thailand's mining industry in 2020 and future trends [Online]. [Cited August 10, 2021]. Available: https://www.dpim.go.th/service/download?articleid=13327&F=30661 (in Thai).

P. Diloksumpun, “Decision support system for eucalypt plantation investment in Chachoensao province,” Kasetsart University/Bangkok. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2008.166

M. Klinglmair, S. Sala and M. Brandão, “Assessing resource depletion in LCA: a review of methods and methodological issues,” The International Journal of Life Cycle Assessment, vol.19, no.1, pp.580-592. Mar. 2014.

S. Panuthai, S.Junmahasatein, S.Diloksumpun “Soil CO2 Emission in Dry Evergreen Forest and Mixed Deciduous Forest” Research Program in Budget for Activities of Forest and Wildlife Research, 2004. (in Thai).

Published
2023-06-30