การพัฒนาระบบควบคุมการวัดค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี IoT

  • สุชาติ ดุมนิล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
Keywords: ระบบควบคุม, อุปกรณ์ไฟฟ้า, เทคโนโลยี, อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ประเมินคุณภาพระบบควบคุมการวัดค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี IoT และความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อพัฒนาระบบควบคุมการวัดค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี IoT กระบวนการวิจัยได้ดำเนินการผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำไปพัฒนาระบบควบคุมการวัดค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี IoT เสร็จแล้วนำระบบไปถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อประเมินหาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้งานของระบบ กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นอาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และกลุ่มเกษตรกรที่สนใจ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง งานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลแล้วนำข้อมูลไปทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบควบคุมการวัดค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี IoT นั้น สามารถช่วยแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยพบเจอในปัจจุบัน คือ สามารถแสดงผลการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ควบคุมแบบทันเวลา สามารถช่วยแจ้งเตือนกรณีอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด และสามารถควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ซี่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้วิจัยที่ต้องการตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าและควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าแก่อุปกรณ์ด้วย IoT

          แบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานของระบบควบคุมการวัดค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี IoT มีโดยรวมพบว่า มีความพึงพอใจในระดับดีมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 โดยที่ด้านความสำคัญของเทคโนโลยี มีความพึงพอใจในระดับที่ดีมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 รองลงมา ด้านความสามารถของระบบ มีความพึงพอใจในระดับที่ดีมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 และด้านประโยชน์และการใช้งาน มีความพึงพอใจในระดับที่ดีมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43       ดังนั้น ในการพัฒนาระบบควบคุมการวัดค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี IoT สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าและควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าแก่อุปกรณ์ด้วย IoT ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

References

External Communications Division Corporate Communications and Public Relations Department EGAT. Record Highest Annual Power Demand [Online]. (2021). [Cited July 14, 2022]. Available: https://shorturl.asia/WurFh.

Office of Jobs and Energy Plans. Usage Trends.

[Online]. (2021) [Cited July 15, 2022].Available : http://www.eppo.go.th/epposite/index.php/th/

electricity#.

T.Kamolchum, Internet of Things For Appliance Control and Energy Data Logger.[Online]. (2016). [Cited July 15,2022]. Available : https://citly.me/lqCUj.

T.Boonpokkrong. “Power Quality Analysis : Case Study A.U.T Company Limited”. Ph.D dissertation, Engineerring Sripatum University, Bangkok, 2012 (in Thai).

Design and Technology. Technological Process. Bangkok : Institute promotes the teaching of science and technology, 2011. (in Thai).

T.Silpcharu. Research and statistical analysis with SPSS and AMOS. (17th edition) Business R&D, 2017. (in Thai).

M.Songthong. Principles of Statistics. Bangkok. C.E.D U.K, 2014. (in Thai).

S.Chanchalor. Measurement and Evaluation. Bangkok. Plate Co., Ltd., Sumamfilm, 1999. (in Thai).

S.Wongpaiboon. The system measures the use of electricity over a wireless IPv6 network.[Online]. (2015). [Cited July 17, 2022]. Available : https://citly.me/ca4F1.

T.Manuthammathorm. Tham mathorn mansion prototype Management System. [Online]. (2019). [Cited July 19, 2022]. Available : https://citly.me/ZA78c.

Published
2023-06-30