การวิเคราะห์ทางความร้อนและการไหลในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีการสอดใส่แผ่นกั้นการไหลด้วยโครงข่ายประสาทเทียม

  • ศุษมา โชคเพิ่มพูน ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • สุริยา โชคเพิ่มพูน สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • สมพร หงษ์กง สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ตะวัน ตั้งโกศล สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • พงษ์เจต พรหมวงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ทําการศึกษาเชิงทดลองและการใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการทํานายถึงการถ่ายเทความร้อนและการ สูญเสียความดันของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อกลมที่มีการสอดใส่ครีบบาง การทดสอบกระทําภายใต้สภาวะฟลักซ์ ความร้อนที่ผิวคงที่ในช่วงการไหลแบบปั่นปวนที่เลขเรย์โนลด์ (Re=5300–24,000) ผลการศึกษาการถ่ายเทความร้อนและการ สูญเสียความดันแสดงอยู่ในพจน์เลขนัสเซิลท์ (Nu) และในพจน์ของตัวประกอบเสียดทาน (f) ตามลําดับ ปิกบางที่ใช้ในการ ทดสอบมีมุมปะทะการไหลเท่ากับ 45° ที่อัตราส่วนความสูงปิกแตกต่างกันจํานวน 3 ค่า (BR=e/D=0.1, 0.15 and 0.2) และ อัตราส่วนระยะพิตต์แตกต่างกันจํานวน 4 ค่า (PR=P/D=0.5, 1.0, 1.5 and 2.0) ซึ่งปิกบางจะถูกสอดใส่ในช่วงท่อทดสอบ และให้ปิกบางลอยอยู่บริเวณกลางหน้าตัดท่อ พบว่าค่าการเพิ่มสมรรถนะการถ่ายเทความร้อนค่าอยู่ระหว่าง 1.06–1.42 ในขณะการทํานายค่าโครงข่ายประสาทเทียมมีความแม่นยําสูงให้ค่า R2 สูงสุดของการศึกษาภายใต้ขอบเขตการศึกษาวิจัยนี้มี ค่าเท่ากับ 0.9945 เมื่อเลือกใช้การใช้การเรียนรู้แบบ Trainlmร่วมกับฟังก์ชันการแปลงที่ชั้นข้อมูลขาเข้าแบบ Tansig และ ฟังก์ชันการแปลงที่ชั้นข้อมูลขาออกแบบ Purelin



Published
2016-12-29