การอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้าของกระบวนการอบยางยาแนวฝากระป๋อง ในอุตสาหกรรมการผลิตกระป๋อง
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานด้านไฟฟ้าในกระบวนการอบยางยาแนวฝากระป๋อง (Lining Compound) ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตในกระบวนการผลิตฝารุ่น Shell 300 โดยใช้ทฤษฎีการถ่ายเทความร้อนมาพิจารณาปรับปรุงตำแหน่งการติดตั้งเครื่องทำความร้อนหรือฮีทเตอร์ (Heater) และโบลเวอร์ (Blower) นอกจากนี้ได้ใช้ทฤษฎีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ในการสุ่มฝา Shell เพื่อเก็บข้อมูลทางสถิติ โดยคำนวณเปอร์เซ็นต์ความชื้นยางยาแนว อย่างไรก็ตามการปรับปรุงตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ต้องคำนึงถึงความชื้นของยางยาแนวหลังอบไล่ความชื้น โดยต้องมีค่าน้อยกว่า 5% ตามที่มาตรฐานกำหนด และใช้ Control Chart ในการควบคุมคุณภาพความชื้นของยางยาแนวที่ผ่านการอบไล่ความชื้นแล้ว จากการศึกษาพบว่า เมื่อปรับปรุงตำแหน่งของฮีทเตอร์และโบลเวอร์ โดยย้ายตำแหน่งไปที่บริเวณด้านบนของชุดตู้อบไล่ความชื้นยางยาแนว สามรถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 32.7 kWh หรือลดลง 37.36% จากเดิมโดยที่เปอร์เซ็นต์ความชื้นของยางยาแนวเท่ากับ 1.87% ซึ่งอยู่ในค่าที่มาตรฐานกำหนด จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า สำหรับการดำเนินการปรับปรุงตำแหน่งในการวางอุปกรณ์ มีระยะเวลาคืนทุน 2 เดือน
References
S. Nathaphan, Quality Control, Bangkok: SE-EDUCATION Public Company Limited, 2008 (in Thai).
T. Patrakan and B. Sornil, Applied Thermodynamics (3rd Edition)., Bangkok: KMUTNB Textbook Production Center, 2013 (in Thai).
W. Rathachatranon, “Determining an Appropriate Sample Size for Social Science Research: The Myth of Using Taro Yamane and Krejcie & Morgan Method,”, Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, vol.8, no.1, pp.11-28, 2019.
N.Krachang and N.Uengkimbuan. “Kinetics and Turmeric Using Hot Air and Infrared Drying,” Burapha Sci. J., vol.21(3), pp.239-246, 2016.
W. Choothian, P. Thongyoug, and S. Chuapisutkul “Feasibility Study of Installing Speed Control Devices in Compressed Air Systems,” in proceeding of 7th National Research Conference Sukhothai Thammathirat Open University, Bangkok Thailand, November. 24, 2017, pp. 1208 – 1216 (in Thai).
W. Chaengsawang, “Energy Conservation with Participation in Plastic Parts Factory,” 22nd Conference on Mechanical Engineering Network of Thailand, Thammasat University, Rangsit Center, Bangkok Thailand, October. 15-17, 2008, pp. 178-182 (in Thai).