การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโดยใช้หลักการ ECRS เพื่อลดต้นทุนการผลิต ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยบ้านดอนสมบูรณ์ ตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณจังหวัดบุรีรัมย์

  • อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วิบูลย์ สำราญรัมย์ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Keywords: การพัฒนาศักยภาพ, ผู้ประกอบการ, หลักการ ECRS, ลดต้นทุน

Abstract

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโดยใช้หลักการ ECRS เพื่อลดต้นทุนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยบ้านดอนสมบูรณ์ ตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิตกล้วยทอดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยบ้านดอนสมบูรณ์ 2) เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตกล้วยช่วยในการลดต้นทุนการผลิตโดยใช้หลักการ ECRS โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวนสมาชิกร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยบ้านดอนสมบูรณ์ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ในการใช้หลักการ ECRS ในการแก้ปัญหา ในส่วนขั้นตอนการผลิตกล้วยทอด จากเดิมมีทั้งหมด 19 ขั้นตอน หลังปรับปรุงลดลงเหลือ 15 ขั้นตอน ลดลงไป 4 ขั้นตอน คิดเป็นร้อยละ 21.05 ได้แก่ การรวมงาน (C) ในส่วนเวลาการผลิตกล้วยทอดในขั้นตอนที่ 14, 15, 16 จากเดิมใช้เวลาทั้งสิ้น 774.50 นาที หลังปรับปรุงโดยทั้ง 3 ขั้นตอนสามารถทำต่อเนื่องกันได้ทำให้ลดเวลาในการทำงานลง ลดลง 4 นาที ในส่วน การปรับเปลี่ยน (R) ย้ายจุดที่นำกล้วยบ่มแล้วมาวางข้างจุดวางเตา ในขั้นตอนที่ 7 และขั้นตอนที่ 13 ในส่วนของระยะทาง จากเดิมใช้ระยะทาง 12 เมตร หลังปรับปรุงสามารถลดระยะทางลง 12 เมตร ทางคิดเป็นร้อยละ 100 และ การทำให้ง่าย (S) ใช้อุปกรณ์ฝานกล้วยดิบแบบใหม่ ฝานกล้วย 1 ลูก ได้ 5 ชั้น จากเดิมฝานได้ 2 ชั้น ในขั้นตอนที่ 9 ทำให้ช่วยลดเวลาในการทำงานลงได้ ดังนั้น เมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตกล้วยทอด (10 กิโลกรัม = 1 ถุงใหญ่) ก่อนปรับปรุงประสิทธิภาพ ต้นทุนการผลิตก่อนปรับปรุง เท่ากับ 271 บาทต่อ 1 ถุง หลังปรับปรุงต้นทุนการผลิต เท่ากับ 241 บาทต่อ 1 ถุง มีต้นทุนลดลง 30 บาทต่อถุง ลดลงคิดเป็นร้อยละ 11.07

References

The Office of Small and Medium Enterprises Promotion (OSMEP). (2021). Executive Summary White Paper on MSMEs 2021. Bangkok.

A. Muangngeon, (2019). “An application of Lean technique (ECRS+IT) to efficient Book Return Process for Library and Information Center, NIDA,” Library and Information Center, NIDA, 2019 (in Thai).

N. Kriengkorakot, Industrial Work Study. Ubon

Ratchathani: Ubon Ratchathani University. Publishing, (3rd ed.), 2013 (in Thai).

N. Tongmongkon, & et. al., “The Efficiency Improving of Banana Product Process Case Study: Banana Drying Group in Chachoengsao Province,” Academic Journal of the Faculty of Industrial Technology : I-TECH, Vol. 16 no.2, pp. 108-116. Jul.-Dec. 2021 (in Thai).

S. Klinmon, “Production Efficiency Improvement in Lens Surface Grinding Process,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Engineering, Burapha University, 2016 (in Thai).

W. Impho, and K. Poonikom, “Increasing efficiency in the production process of drinking water using lean technical: Case study of drinking water Thanthip production,” SNRU Jour nal of Science and Technology, Vol. 9 no.3, pp. 653-660. Sep.-Dec. 2017 (in Thai).

K. Poonikom, “Efficiency Improvement in Manufacturing Process by Improvement Technique Case Study:Drinking Water Bai-Pai-Keaw.” In Proceeding of Industrial Engineering Network Conference, Chiangmai Thailand, July. 12-15, 2017, pp.150-155 (in Thai).

K. Wajanawichakon, & et. al., “Efficiency Improvement of the Pottery Production Process to Reduce Waste and Increase the Production Quality: Case Study of HUAYWANGNONG Pottery Group, Ubonratchathani” UBU Engineering Journal, Vol. 9 no.2, pp. 38-46. Jul.-Dec. 2016 (in Thai)

Published
2022-06-30