การสำรวจการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์)

  • ภรนฤมล ทัฬหะกุลธร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สาโรช พูลเทพ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณิต เขียววิชัย ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Keywords: ความพึงพอใจ, ระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดิน, ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง, แบบสอบถาม

Abstract

บทความนี้เป็นการสำรวจความพึงพอใจต่อโครงการการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดิน (Underground power system) ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องของความปลอดภัยและประสิทธิภาพด้านระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย แบบสอบถามถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจ ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนการสำรวจความพึงพอใจ และส่วนความคิดเห็น ตามลำดับ นอกจากนั้น ข้อคำถามยังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านภูมิทัศน์ ด้านความปลอดภัย และด้านความเสถียรของระบบส่ง - จ่ายกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา และบุคลากร รวมทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง โดยเครื่องมือทางสถิติที่นำมาใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจพบว่า ประชากรมีความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ซึ่งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 โดยมีความพึงพอใจอยู่ใน “ระดับมากที่สุด” อีกทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลชี้ให้เห็นการกระจายตัวที่ค่อนข้างน้อยแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นผลลัพธ์ข้างต้นสามารถอนุมานได้ว่า หากมีการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดินจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ รวมถึงประชากรจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นในการสัญจรและระบบไฟฟ้าจะมีความเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตได้

References

E. Kuffel, W.S. Zaengl, and J. KuffelHigh Voltage Engineering: Fundamentals (2nd edition), Newnes, 2006.

Taro Yamane, Elementary Sampling Theory, Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc, 1967.

Krejcie R.V. & Morgan D.W., “Determining Sample Size for Research Activities”, Educational and psychological Measurement, vol.30, pp.607-610, 1970.

Cochran, W.G.. Sampling techniques (3rd ed.) New York: John Wiley & Sons, 1977.

S. McLeod, Questionnaire: definition, examples, design and types. Simply Psychology,.[Online] (2018).,Available:www.simplypsychology.org/questionnaires.html

Rovinelli, R. J. และ Hambleton, R.K., “On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity” Dutch Journal of Educational Research, 1977, 2, 49 – 60.

Saroj Pullteap, “ENGINEERING MEASUREMENT”, Nakornpathom: Silpakorn University (Sanam Chandra Palace Campus) Press, 2019. (in Thai)

Ranjit Kumar, “RESEARCH METHODOLOGY step-by-step guide for beginners (3rd) ”, SAGE Publications Asia-Pacific Pte Ltd, 2011, pp. 150.

Wathna Soonthorndhai and Wanida Kuchaisit, “The Reliability of Multi-target Assessment Tryouts: A Case Study for Teaching and Learning Assessment at Bangkok University”, BU ACADEMIC REVIEW, vol. 14, No.1, January - June 2015. (in Thai)

Thananan Numsang and Thanita Tantrarungroj, “Validity and Reliability of the Brief COPE Inventory: Thai bersion”, J Psychiatr Assoc Thailand, vol. 63,

No. 2 , April - June 2018.

Cherdchai Prapanavarat, Point out the advantages and disadvantages of over-ground and underground wiring systems, [Online] (2016), Available: http://www.

siamedunews. com/articles. (in Thai)

NRG Expert, Electricity T&D White Paper, [Online] (2013), Available: www.nrgexpert.com

Metwally I., Al-Badi A., Al Farsi A., Factors influencing ampacity and temperature of underground power cables, Electrical Engineering 95(4) (2013), pp. 383–392.

Metropolitan Electricity Authority, 3 things that have changed After grounding the wires, [Online] (2018), Available: https://www.mea.or.th/content/detail. (in Thai)

Published
2022-06-30