การพัฒนาคุณภาพและห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์กล้วยตาก ชุมชมบ้านหนองปลาไหล ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • กฤษณ์ชาคริตส ณ วัฒนประเสริฐ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • กุสุมา ผลาพรม สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Keywords: คุณภาพ, ห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์กล้วยตาก, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่เน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างคณะผู้วิจัยกับกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์กล้วยตากที่เป็นสินค้าชุมชนในหมู่บ้านหนองปลาไหล ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพมาตรฐานกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์กล้วยตาก 2) ศึกษาห่วงโซ่อุปทานที่มีต่อผลิตภัณฑ์กล้วยตาก 3) พัฒนาคุณภาพมาตรฐานกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์กล้วยตากให้มีศักยภาพก้าวสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชม (มผช.) และเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัดและภูมิภาค 4) เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและการตลาดดิจิทัลของผลิตภัณฑ์กล้วยตากให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบการชุมชนเป็นวงกว้างอย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ผลิตชุมชนบ้านหนองปลาไหล ตำบลท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มีความต้องการที่จะมีการปรับปรุงด้านกระบวนการผลิต ซึ่งเดิมมีขั้นตอนการผลิตทั้งหมด 9 ขั้นตอน เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นจึงใช้หลักเกณฑ์การควบคุมคุณภาพโดยรวมสามารถลดเวลาในขั้นตอนการผลิตกล้วยตากได้ จึงส่งผลให้เวลาในกระบวนการผลิตลดลงและสามารถผลิตกล้วยตากได้เพิ่มมากขึ้น และด้านห่วงโซ่อุปทานผู้ผลิตมีการปรับปรุงโลโก้ใหม่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นทำให้เห็นข้อมูลการติดต่อที่ชัดเจนพร้อมทั้งมีสีสันและรูปแบบที่สวยงามเพิ่มขึ้นทำให้สามารถดึงดูดผู้บริโภคให้มาสนใจตัวผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้น และช่องทางการจัดจำหน่ายหลังจากที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการได้ปรับมาใช้การตลาดดิจิทัล ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น เป็น 400 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ จากเดิมที่มีการขายส่งตามโรงเรียนและถ้าหากสามารถผลิตได้เพิ่มมากขึ้นจะผลิตส่งตามโรงเรียนและโรงงาน ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ 200 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้สำหรับชุมชนบ้านหนองปลาไหล โดยพิจารณาจากความคุ้มค่า ความสมดุลและคุณภาพ ความมั่นคง และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์กล้วยตาก

References

Y. Kaiwan et al. A complete Report on Product Management Model Development. Bangkok: Phranakhon Rajabhat university, 2019 (in Thai).

Office of the National Economic and Social Development Council. Small and Medium Enterprise Development of Thailand According to the Sufficiency Economy Philosophy. Document for the 1999 TDRI Academic Seminar (in Thai).

Z. Paul. Inventory Control in Flutuating

Demand Environment. NewYork: Columbia

Uni versity, 1991.

T. Sorat. Application of logistics Supply Chain Management. Bangkok: V-Serve Logistics, 2007 (in Thai).

Office of Agricultural Economics. The 20-year Agricultural and Cooperative Strategy (2017-2036) and the Agricultural Development Plan during the National Economic and Social Development Plan No. 12 (2017-2021). Ministry of Agriculture and Cooperative, 2017 (in Thai).

Department of Community Development. Guidelines and Criteria for the Selection Framework of the Best One Tambon One Thai Product. 2019. [online]. Available: http://singburi.cdd.go.th/ (in Thai).

S. Nonthaphot, and M. Sompolkrang. Natural Fresh Fish Supply Chain Management towards adding Value in the Upper Northeastern Regian. Nong Khai: Khon Kaen University, 2018 (in Thai).

W. Simachokedee. Industrial Organizational Psychology: Human Resource Management and Productivity. (2nd edition). Bangkok: Technology Promotion Association (Thai-Japan), 2016, p. 32 (in Thai).

Published
2021-12-30