การลดของเสียในกระบวนการฉีดชิ้นส่วนพลาสติก

  • จรีภรณ์ แก้วโสนด ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • รณินทร์ กิจกล้า ภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฉีดชิ้นส่วนพลาสติก วิเคราะห์สาเหตุ หาแนวทางและปรับปรุง กระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย ในชิ้นงานรุ่น KNOB A LED เกี่ยวกับปัญหารอยประกายเงิน (Silver) โดยศึกษาและเก็บ รวบรวมข้อมูลของเสียในกระบวนการผลิต เลือกหัวข้อของเสียด้วยแผนภาพพาเรโต (Pareto Diagram) และวิเคราะห์สาเหตุ ด้วยแผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) และมีการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดของเสียดังนี้ 1) เปลี่ยนขนาดถังบรรจุเม็ด พลาสติก (Hopper) ให้มีขนาดเล็กลงเป็นแบบถังบรรจุเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก (Mini Hopper) 2) ปรับอุณหภูมิในการฉีดใหม่ โดยการลดอุณหภูมิบาร์เรลของกระบอกฉีด (Barrel) ลง และเพิ่มความดันต้านทานการหมุนถอยหลังกลับของสกรู (Back Pressure) และ 3) เพิ่มขนาดส่วนปลายที่ดักเศษพลาสติก (Cold Slug) ของแม่พิมพ์จากขนาด 4x5.00 mm. ให้มีขนาด 6x10.00 mm. ผลจากการปรับปรุงพบว่าชิ้นงานรุ่น KNOB A LED ก่อนการปรับปรุงมีของเสียเป็นจํานวน 1,237 ชิ้น คิดเป็น 4.79% หลังการปรับปรุงมีจํานวนของเสียเป็นจํานวน 59 ชิ้น คิดเป็น 0.26%

Published
2016-12-29