การพัฒนาชุดผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านไม้ไผ่
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตถ่านอัดแท่งจากไม้ไผ่ โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างชุดผลิตถ่านอัดแท่งและวิเคราะห์คุณสมบัติของถ่านอัดแท่งที่ได้จากชุดผลิตถ่านอัดแท่งที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย เตาเผาถ่านแบบแนวตั้ง เครื่องบดและผสมถ่าน และเครื่องอัดถ่านแท่ง ตัวอย่างวัตถุดิบที่ใช้ในการศึกษาได้เลือกไม้ไผ่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 3 ชนิดได้แก่ ไม้ไผ่พื้นเมือง ไม้ไผ่ตง (Dendrocalamus asper Back) และไม้ไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis Gamble) ที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป โดยทำการตากแห้งและนำไปเผา บด ผสมและอัดด้วยชุดผลิตถ่านอัดแท่งที่สร้างขึ้น สัดส่วนในการผลิตถ่านอัดแท่งระหว่าง ผงถ่าน : แป้งมันสำปะหลัง : น้ำเป็นตัวประสาน แบ่งเป็น 5 สัดส่วน โดยใช้ผงถ่าน 1000 กรัม ต่อปริมาณแป้งมันสำปะหลังเท่ากับ 25, 50, 100, 150 และ 200 กรัม ตามลำดับและผสมด้วยน้ำเปล่า ถ่านอัดแท่งที่ได้จากไม้ไผ่ทั้ง 3 ชนิดจะนำไปตากแห้งและทำการวิเคราะห์คุณสมบัติได้แก่ ค่าความร้อน เวลาในการเผาไหม้ ปริมาณเถ้า และปริมาณความชื้น จากผลการศึกษาพบว่า ถ่านอัดแท่งที่ได้จากไม้ไผ่ตง มีค่าความร้อนสูงสุด ประมาณ 4,972 แคลอรี่ต่อกรัม ในขณะที่ถ่านอัดแท่งที่ได้จากไม้ไผ่รวกจะใช้เวลาในการเผาไหม้สูงที่สุด ประมาณ 12.63 กรัมต่อนาที และถ่านอัดแท่งที่ได้จากไม้ไผ่ตงจะมีปริมาณเถ้าน้อยที่สุด ประมาณร้อยละ 7.62 สำหรับปริมาณความชื้นของถ่านอัดแท่งที่ได้ทั้ง 3 ชนิดมีค่าใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งชุมชนไม่เกินร้อยละ 8
References
Thanpisit Phungchik. Bamboo: Energy Plant inthe Future ?. Thai Science and Technology Journal. Thammasat University, Bangkok, Vol.22 No.1 (January-March 2014). 2014.pp. 130-136. (in Thai).
Anupap udomsarb. Basic of burning charcoal. [Online]. (2015). [Cited June 04, 2018]. Available: https://www.charcoal.snmcenter.com/ charcoalthai/charcoal_fun1.php.
Charcoalthai company. Burning charcoal quality. [Online]. (2015). [Cited August 03, 2018]. Available: http://www.charcoalthai.com/การเผาถ่านคุณภาพ.
Ukkrist Khosri. The charcoal compresses , choice energy in the age , oil is expensive. Clinic Technology Rajamangala University of Technology Isan Sakonnakhon Campus. [Online]. (2015). [Cited August 03, 2018]. Available: http://lib3.dss.go.th/fulltext/ techno_file/CF61/CF%2061%20(A20).pdf.
Rung-Roj Phutteesakul, “The Production of Charcoal Briquette by Coconut Shell and Cassava Rhizome”, Master Thesis, M.Ed. (Industrial Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University. 2010 (in Thai).
Sangwoei Sawekwiharee. Potential Energy of The Fuel Briquettes From Mangosteen Shell. 2012.
Sirichai Torsakul Kunthon Thongsri Chongkol Supharattana. Development of Charcoal Briquette from Scrapped Coconut for Alternative Energy. Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Phatumthan. 2012. (in Thai).