การพัฒนาระบบตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย แจ้งเตือนข้อความและภาพถ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์

  • ธีรถวัลย์ ปานกลาง สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • รักเกียรติ ขําดํารงเกียรติ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • รัตนสุดา สุภดนัยสร สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Keywords: เครื่องวัดอุณหภูมิ, อินฟราเรดเซ็นเซอร์, แอพพลิเคชั่นไลน์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย แจ้งเตือนข้อความและภาพถ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ สามารถส่งข้อความและภาพถ่ายแจ้งเตือนเมื่อพบการตรวจสอบความผิดปกติของอุณหภูมิร่างกาย ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ และสามารถจัดเก็บข้อมูลรวมถึงการสืบค้นข้อมูลการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายย้อนหลังตามวันที่ผู้ใช้งานต้องทราบได้ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่ออํานวยความสะดวกในการวินิจฉัยโรคและติดตามผู้ป่วยได้รวดเร็ว สําหรับการทํางานของระบบตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายนี้จะใช้ตัวอินฟราเรดเซนเซอร์สําหรับตรวจจับความร้อน และส่งค่าเอาต์พุตที่ได้จากเซนเซอร์ไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ Node MCU V.2 เพื่อทําการประมวลผลค่าอุณหภูมิ ส่งค่าที่ได้ไปแสดงผลบนจอ OLED พร้อมกับจัดเก็บผลอุณหภูมิลงในฐานข้อมูลสามารถเลือกดูข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลัง ร่วมกับโมดูลกล้อง ESP32-CAM ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายภาพและส่งภาพพร้อมข้อความแจ้งเตือนไปยังแอพพลิเคชั่นไลน์เมื่อพบความผิดปกติของอุณหภูมิร่างกาย จากผลการทดสอบเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบไม่สัมผัส ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สามารถตรวจจับอุณหภูมิได้ในช่วง    35 - 55 องศาเซลเซียส ตำแหน่งการวัดและระยะการตรวจจับอุณหภูมิที่เหมาะสมได้แก่ ตำแหน่งหน้าผาก ระยะห่าง 3 cm  โดยมีค่าความผิดพลาด 0.07 0C คิดเป็น 0.19 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด ยี่ห้อ YUWELL รุ่น YT-1 

References

Childs C.(2011).Maintaining body temperature. In: Brooker C, Nicol M, editors. Alexander’s nursing practice. Oxford: Elesvier;p.94-7.

Sessler DI.(2008).Temperature monitoring and perioperativethermoregulation.Anesthesiology; 109(2) :318-38.

Bridges E, Thomas K. Noninvasive. (2009). measurementof body temperature incriticallyill patients. Crit Care Nurse;29(3):94-7.

Tangpanithandee.S., Thongchuer.W. and Charitkuan.O. (2015). Accuracy and Precision of Ear and Forehead Thermometers in Febrile Out-patients and Non-febrile Healthy Volunteers. Journal of Nursing Science. 33(4),103-113.(inthai).

Suksaeng.K. and Phakonthirakhun.W.(2553). Infrared Forehead Thermometer. Thesis of B.S.Tech.Ed. (Electrical Engineering). King Mongkut's University of Technology North Bangkok.(inthai).

Noimuenwai.P. and Yutthaart.T. (2562). Notification System of Temperature and Humidity for Medical warehouse via Application Line Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital. Retrieved 15 March 2021 .from http://www.ba.rmuti.ac.th /academic/downloads/ebook/2-62.

Wetphaetsa.C.(1983). Medical Electronics . Department of Physiology Faculty of Medicine Siriraj Hospital.

Pradeep, S.(2016).NodeMCU Pinout. Retrieved 15 December 2018. from https://iotbytes. wordpress. com /nodemcu-pinout/

My arduino.(2563). Son chai ngan Arduino ESP32-CAM tham klong wongchonpit Wifi. Retrieved 15 December 2021.from https:// www. myarduino. net/ article.

www.ioxhop.com.(2017). ESP8266 / ESP8285 kap kan song kan chaeng tuean khao LINE. Retrieved 15 December 2020. From http:// www.ioxhop.com/ article/47/esp8266-esp8285.

Published
2021-06-29