การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมโรงเรือนเพาะเห็ด ฟาร์มอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์

  • ชัยวิทย์ ถิระวณัฐพงศ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี
  • ยุทธนา พรรคอนันต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี
Keywords: อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ, เกษตรอัจฉริยะ

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบตัวต้นแบบระบบโรงเรือนอัจฉริยะโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
ไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ด 2. เพื่อประเมินผลการออกแบบตัวต้นแบบระบบโรงเรือนอัจฉริยะโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ด โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นกลุ่มเกษตรกรสวนเห็ดจันทบุรี ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. ตัวต้นแบบระบบ 2. แบบประเมินความคิดเห็นของการออกแบบตัวต้นแบบ 3. แบบประเมินความเหมาะสมของการพัฒนาตัวต้นแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) การออกแบบตัวต้นแบบประกอบด้วย 4 โมดูล คือ โมดูลอุณภูมิ โมดูลความชื้น โมดูลพัดลม โมดูลปั๊มน้ำ โดยใช้ NETPIE ที่เป็นแพลตฟอร์มให้บริการผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ สำหรับเชื่อมต่อสื่อสารในรูปแบบอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่ง 2) ผลการประเมินความคิดเห็นของการออกแบบตัวต้นแบบพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ด ด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ผลการศึกษาความพึงพอใจโดยรวมในระดับดีมาก ได้แก่ ด้านความต้องการตามหน้าที่ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.44 ด้านฟังก์ชันการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.31 ด้านการใช้งาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.35 ด้านลักษณะการออกแบบอุปกรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.25 และด้านความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.22 แสดงว่าสามารถนำตัวต้นแบบระบบโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ด ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมความสะดวกสบายให้กับเกษตรกรอย่างเหมาะสม

Published
2020-12-25