การเพิ่มประสิทธิภาพการเกิดก๊าซชีวภาพจากกระบวนการหมักผักตบชวาและมูลวัวโดยใช้มันสำปะหลังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

  • อัญชณา อุประกูล สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นงนุช ศรีเล็ก สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สิทธิกฤต เหล็กพูล สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มิ่งขวัญ สมพฤกษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Keywords: ก๊าซชีวภาพ, ผักตบชวา, มันสำปะหลัง

Abstract

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการเกิดก๊าซชีวภาพจากกระบวนการหมักผักตบชวาและมูลวัว โดยใช้มันสำปะหลังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพอยู่ที่ อัตราส่วนของผักตบชวา : มูลวัว : มันสำปะหลัง 60:40:2 โดยน้ำหนัก จากการทดสอบการหมักในถังกวนแบบต่อเนื่องขนาด 200 ลิตรของการหมักก๊าซชีวภาพจากผักตบชวาและมูลวัว พบว่าก๊าซชีวภาพเริ่มผลิตในวันที่ 8 ซึ่งมีปริมาณก๊าซชีวภาพเฉลี่ยสะสมต่อวันที่ 511.28+1.29 cm3/วัน และปริมาณก๊าซมีเทนเฉลี่ยสะสมต่อวันอยู่ที่ 31.07+0.10 %v/v ภายใต้สภาวะที่ไม่เติมมันสำปะหลัง ในขณะที่การหมักโดยเติมมันสำปะหลังสูงสุดที่ 2.0% โดยน้ำหนัก พบว่าก๊าซชีวภาพเริ่มผลิตในวันที่ 5 ซึ่งได้ปริมาณก๊าซชีวภาพเฉลี่ยสะสมต่อวันสูงสุด และปริมาณก๊าซมีเทนเฉลี่ยสะสมต่อวันสูงสุดที่ 1,782.26+0.64 cm3/วัน และ 50.17+0.02%v/v ตามลำดับ โดยปริมาณก๊าซชีวภาพสูงสุดเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 12-14 ซึ่งให้ปริมาณก๊าซชีวภาพสูงสุดคงที่ที่ 2,334.6 cm3 การเติมมันสำปะหลังทำให้ย่นระยะเวลาการเกิดก๊าซชีวภาพจากเดิม 8 วัน เหลือเพียง 5 วัน และปริมาณก๊าซที่เกิดมีปริมาณสูงกว่าการหมักโดยไม่เติมมันสำปะหลังถึง 2 เท่า ซึ่งมันสำปะหลังที่เติมนี้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งในด้านของระยะเวลาและปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น

Published
2020-12-25