การหาประสิทธิภาพของแท่งเชื้อเพลิงจากถ่านกะลามะพร้าวและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการประกอบอาหาร

  • ศตพล มุ่งค้ำกลาง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าความร้อนและลักษณะทางกายภาพของแท่งเชื้อเพลิงที่ผลิตจากถ่าน
กะลามะพร้าวผสมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และศึกษาประสิทธิภาพของการใช้แท่งเชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานความร้อน
ในการประกอบอาหาร วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่นํามาใช้ผสมกับถ่านกะลามะพร้าวเพื่อผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิง ได้แก่ ฟาง
ข้าว และชานอ้อย โดยมีอัตราส่วนของถ่านกะลามะพร้าวต่อฟางข้าวหรือชานอ้อยที่อัตราส่วน 9:1 8:2 7:3 6:4 และ 5:5 โดย
ปริมาตร จากการทดลองพบว่า แท่งเชื้อเพลิงจากถ่านกะลามะพร้าวผสมฟางข้าวมีค่าความร้อน 6,186.066,014.315,880.26
5,770.74 และ 5,667.04 Kcal/Kg ตามลําดับและมีค่าความชื้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่วนแท่งเชื้อเพลิงจาก
ถ่านกะลามะพร้าวผสมชานอ้อย พบว่ามีค่าความร้อน5,173.584,882.154,881.26 4,775.44 และ 4,710.80 Kcal/Kg
ตามลําดับ ดังนั้นจึงมีเพียงอัตราส่วน 9:1 เท่านั้นที่มีค่าความร้อนเป็นไปตามมาตรฐาน ส่วนผลการประเมินคุณภาพอาหารโดย
ประสาทสัมผัส จากอาหารที่ประกอบขึ้นโดยใช่ถ่านอัดแท่งทั่วไปเปรียบเทียบกับแท่งเชื้อเพลิงที่ผลิตขึ้น เพื่อศึกษา
ประสิทธิภาพของการใช้แท่งเชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานความร้อนในการประกอบอาหาร โดยใช้วิธี 5 Point Hedonic Scale
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Paired Sample T-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% อาหารที่ใช้ทดสอบได้แก่ เนื้อย่างและหมูย่าง พบว่า
แท่งเชื้อเพลิงที่ผลิตขึ้นจากถ่านกะลามะพร7าวผสมฟางข้าวสามารถนํามาใช้งานเป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนได้ตามมาตรฐาน
และมีประสิทธิภาพในการใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนในการประกอบอาหาร ได้ใกล้เคียงกับถ่านอัดแท่งโดยทั่วไป ส่วนแท่ง
เชื้อเพลิงจากถ่านกะลามะพร้าวผสมชานอ้อยพบว่าหากนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนพบว่าต้องเป็นแท่งเชื้อเพลิงที่มี
อัตราส่วนของชานอ้อยต่ํา และเมื่อนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารประเภทปิ้งย่างโดยตรง พบว่ามีประสิทธิภาพต่ํา
กว่าถ่านอัดแท่งโดยทั่วไป
คําสําคัญ: แท่งเชื้อเพลิง, ถ่านกะลามะพร้าว, วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

Published
2016-06-30