การอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้าของกระบวนการอบยางยาแนวฝากระป๋อง ในอุตสาหกรรมการผลิตกระป๋อง

  • เพ็ญพิสุทธิ์ ทองหยวก Faculty of Engineering and Industrial Technology, Silpakorn University
  • ชญาดา เทียนไชย, ธมนวรรณ เฉี้ยนเงิน, วรฤทัย ชูเทียร
Keywords: การลดต้นทุนการผลิต, การอนุรักษ์พลังงาน, การปรับปรุงกระบวนการผลิต

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานด้านไฟฟ้าในกระบวนการอบยางยาแนวฝากระป๋อง (Lining Compound) ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตในกระบวนการผลิตฝารุ่น Shell 300 โดยใช้ทฤษฎีการถ่ายเทความร้อนมาพิจารณาปรับปรุงตำแหน่งการติดตั้งเครื่องทำความร้อนหรือฮีทเตอร์ (Heater) และโบลเวอร์ (Blower) นอกจากนี้ได้ใช้ทฤษฎีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ในการสุ่มฝา Shell เพื่อเก็บข้อมูลทางสถิติ โดยคำนวณเปอร์เซ็นต์ความชื้นยางยาแนว อย่างไรก็ตามการปรับปรุงตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ต้องคำนึงถึงความชื้นของยางยาแนวหลังอบไล่ความชื้น โดยต้องมีค่าน้อยกว่า 5% ตามที่มาตรฐานกำหนด และใช้ Control Chart ในการควบคุมคุณภาพความชื้นของยางยาแนวที่ผ่านการอบไล่ความชื้นแล้ว จากการศึกษาพบว่า เมื่อปรับปรุงตำแหน่งของฮีทเตอร์และโบลเวอร์ โดยย้ายตำแหน่งไปที่บริเวณด้านบนของชุดตู้อบไล่ความชื้นยางยาแนว สามรถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 32.7 kWh  หรือลดลง 37.36% จากเดิมโดยที่เปอร์เซ็นต์ความชื้นของยางยาแนวเท่ากับ 1.87% ซึ่งอยู่ในค่าที่มาตรฐานกำหนด จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า สำหรับการดำเนินการปรับปรุงตำแหน่งในการวางอุปกรณ์ มีระยะเวลาคืนทุน 2 เดือน

Published
2022-12-09