วารสารเทพสตรี I-Tech (Journal of Industrial Technology) ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งแบบตีพิมพ์ (print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) โดยวารสารรูปแบบตีพิมพ์ ISSN 1905-6648 (print) ได้เริ่มจัดทำตั้งแต่ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 เดือน มกราคม - มิถุนายน 2556 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2673-0561 (Online) ได้เริ่มจัดทำตั้งแต่ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2562

วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ อุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการอุตสาหกรรม

ลักษณะบทความ
- ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนหรือต้องไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในวารสารอื่น
- ต้องเป็นผลงานวิจัยที่มีผลกระทบในวงกว้างที่ไม่ใช่งานวิจัยในระดับสถาบัน

เกณฑ์การพิจารณาบทความ
บทความจะต้องผ่านการ peer-review แบบ double blinded จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน

กำหนดการออกวารสาร
ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Author)
1. ผู้เขียนต้องรับรองว่า บทความที่ส่งมาเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในวารสารอื่น
2. ผู้เขียนควรตรวจสอบแหล่งที่มาของเอกสารที่นำมาอ้างอิงให้ถี่ถ้วน รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน
3. ผู้เขียนต้องไม่ให้ข้อมูลที่บิดเบือนหรือเป็นเท็จ รวมถึงผู้ที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
4. ผู้เขียนควรศึกษาและจัดทำบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความอย่างเคร่งครัด
5. ผู้เขียนต้องส่งผลงานวิจัยที่มีผลกระทบในวงกว้างที่ไม่ใช่งานวิจัยในระดับสถาบัน

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ รวมถึงตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพก่อนการตีพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
2. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับวัตถุประสงค์ของวารสารเป็นสำคัญ และต้องปฏิบัติตามกระบวนการต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
3. บรรณาธิการควรมีระบบที่ทำให้มั่นใจได้ว่าบทความที่ส่งเข้ามายังวารสาร จะได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ
4. บรรณาธิการต้องคงไว้ซึ่งความถูกต้องของรายงานการศึกษา ต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง เมื่อบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์ เพื่อพิจารณาถอดถอนหรือปฏิเสธการตีพิมพ์
5. บรรณาธิการต้องใช้หลักการพิจารณาบทความโดยอิงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก ต้องไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์และบทความที่พิจารณาไม่ว่าด้วยกรณีใด
6. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนหรือเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจ
7. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสารและพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
8. บรรณาธิการต้องเต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง และการขออภัย หากจำเป็น

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ และจนกว่าบทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
2. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความโดยไม่มีอคติ และไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง ต้องพิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก
3. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ประเมิน หากผู้ประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
4. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ ต้องสามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงแก้ไขบทความนั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก
5. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบหากพบว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความมีการลอกเลียนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น
6. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาในการประเมินพิจารณาบทความตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด